ความเครียด

“ความเครียด” เป็นหนึ่งในปัญหาที่วัยทำงานหลายคนต้องเจอ ซึ่งเกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ รอบตัว แถมในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดของการใช้ชีวิต อย่างเช่น การแพร่ระบาดของไวรัส หรือค่าครองชีพที่สูงขึ้น ก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้หลายคนมีความเครียดเพิ่มขึ้นได้อีก

นอกจากเรื่องของโรคระบาด และรายจ่ายที่มากขึ้นแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเครียด และยังส่งผลให้หลายคนเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมศร้า โดยเฉพาะวัยทำงานที่มีปัญหามากมายคอยกดดันจนทำให้เกิดความเครียดได้มากกว่าวัยอื่น ๆ  และยังทำให้มีปัญหาสุขภาพร่างกาย นอนไม่หลับ หรือผมร่วงตามมาอีกด้วย

“ความเครียด” ของวัยทำงานเกิดจาก ?

ความเครียดของวัยทำงาน

โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเครียดสำหรับวัยทำงานนั้นมีอยู่หลายอย่าง แต่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้ ?

  • ปัจจัยภายนอก เป็นสิ่งเร้ารอบตัวที่ทำให้เราคิดมาก หรือรู้สึกกดดัน จนกลายเป็นความเครียด ซึ่งปัญหาที่วัยทำงานต้องเจออยู่บ่อย ๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการมีเพื่อนร่วมงานที่ไม่เป็นมิตร หัวหน้าจอมบงการ หรือปริมาณงานที่ไม่คุ้มกับค่าจ้าง และรวมไปถึงค่าครองชีพที่ราคาสินค้าทุกอย่างเพิ่มขึ้น แต่รายรับของเรายังเท่าเดิม  จนทำให้เกิดเป็นความเครียดได้ง่าย
  • ปัจจัยภายใน เกิดขึ้นได้จากร่างกายของตัวเราที่ยากจะควบคุม เช่น นิสัยชอบคิดมาก มักเก็บทุกเรื่องเข้ามาใส่ใจ อาการเจ็บป่วยที่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน หรือความเจ็บปวดจากโรคที่เกิดขึ้นจนส่งผลให้เกิดเป็นความเครียด รวมไปถึงสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้วัยทำงานหลายคนเครียด กังวล และเสี่ยงกับภาวะซึมเศร้า

จากปัจจัยหลักทั้ง 2 ชนิดตามข้างต้น ถ้าไม่ได้รับการดูแล หรือแก้ไข อาจส่งผลเสียต่อระยะยาว และยากที่จะรักษา จนเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย ดังนั้น รีบเช็คด่วน ! ว่าความเครียดของเรากำลังอยู่ในระดับไหน เพื่อการดูแล รักษาที่เหมาะสม และสุขภาพที่ดีขึ้น

เช็คด่วน ความเครียดของคุณ อยู่ในระดับไหน ?

ความเครียดเรื้อรัง

ความเครียดระดับฉับพลัน (Acute Stress) เป็นชนิดที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด สำหรับคนที่มีความเครียดระดับนี้มักมาจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแบบกระทันหัน และส่งผลต่อจิตใจโดยตรง เช่น อุบัติเหตุต่าง ๆ การตกใจ ความหิว หรือการเล่นเครื่องเล่นหวาดเสียว ทำให้วิตกกังวล กลายเป็นความเครียด แต่จะเกิดขึ้นไม่นาน และสามารถหายเองได้

สำหรับผู้ที่มีความเครียดระดับเฉียบพลัน มักจะอารมณ์ไม่ดี ฝันถึงเหตุการณ์ที่กระทบต่อจิตใจอยู่บ่อย ๆ แถมยังส่งผลต่อการทำงาน และทำให้งานขาดคุณภาพ

ความเครียดระดับเรื้อรัง (Chronic Stress) เกิดจากปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัวเป็นประจำ ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย หรือความกดดันจากเรื่องงาน จนส่งผลให้เกิดเป็นความเครียดเรื้อรัง เพราะคอยคิดและกังวลอยู่กับปัญหานั้น ๆ

ซึ่งความเครียดระดับนี้ยากที่จะแก้ไข มักชอบเก็บตัวอยู่เงียบ ๆ ไม่ค่อยอยากร่วมกิจกรรม หรือพบเจอเพื่อน ๆ และยังทำให้การใช้ชีวิตประจำวันแย่ลงด้วย ดังนั้น ถ้าคุณกำลังมีความเครียดอยู่ในระดับเรื้องรัง ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา ให้สุขภาพกาย และสุขภาพใจดีขึ้น 

วัยทำงาน เครียดระดับไหนก็รักษาได้ด้วย 3 วิธีนี้ !

กิจกรรมผ่อนคลายความเครียด

สำหรับความเครียดทั้ง 2 ระดับ จริง ๆ แล้วสามารถใช้ 3 วิธีต่อไปนี้ เพื่อช่วยบำบัดความเครียดขั้นพื้นฐานได้ และช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น

ความเครียดระดับเฉียบพลัน

  • ควรเพิ่มการทานอาหารที่ให้วิตามินบี หรือเสริมด้วยวิตามินบีอัดเม็ด เพราะเวลาที่เกิดความเครียด ร่างกายเราจะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น ส่งผลให้งานที่เราทำออกมาไม่ดีพอ เนื่องจากวิตามินบีจะถูกดึงออกเวลาเราเครียด หรือวิตกกังวลมากเกินไป
  • ควบคุมการหายใจเข้าออก ทำได้ง่าย ๆ โดยหายใจเข้าลึก ๆ 4 วินาที และหายใจออก 8 วินาที ทำติดต่อกัน 5 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยลดความเครียดได้ และทำให้จิตใจสงบลงด้วย
  • นั่งสมาธิ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียดได้ดี ขณะที่เรานั่งสมาธิอยู่นั้น ให้นับลมหายใจเข้าออกไปเรื่อย ๆ ประมาณ 15 นาที ซึ่งวิธีนี้มีงานวิจัยรับรองแล้วว่าสามารถทำให้สารแห่งความสุข (Endorphins) หลั่งออกมา เป็นผลดีต่อทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจ

ความเครียดระดับเรื้อรัง

  • โยคะคลายกล้ามเนื้อ วิธีนี้ตอบโจทย์วัยทำงานได้อย่างดี เพราะเวลาที่มีความเครียดเกิดขึ้น กล้ามเนื้อจะหดตัว ทำให้เรารู้สึกปวดเมื่อยบ่อย ๆ ดังนั้น การทำโยคะ หรือการนวด ทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้
  • ควบคุมการหายใจเข้าออก การลดความเครียดด้วยวิธีนี้ทำได้ง่าย และเหมาะกับทุกระดับ
  • ปรึกษาแพทย์ สำหรับความเครียดระดับเรื้อรัง จะมีปัญหาเรื่องของสารเคมีในสมองไม่สมดุล ซึ่งค่อนข้างละเอียด ยากที่จะรักษาด้วยตัวเอง และต้องรับยาบางชนิดเพื่อปรับความดุล  ขอแนะนำให้คนที่มีความเครียดระดับนี้เข้าพบแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษา และลดความเสี่ยงของการเป็นโรคซึมเศร้า
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด 5 ปัญหาที่มากับความเครียด ขอแนะนำ ! ให้ทุกคนใช้วิธีตามข้างต้น เพื่อให้สุขภาพที่แข็งแรง และจิตใจสดใส

5 ปัญหาที่มากับ “ความเครียด”

ความเครียด

เมื่อเราเครียดร่างกายจะเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งด้านอารมณ์ ความคิด การแสดงออก รวมไปถึงสุขภาพร่างกาย และสุขภาพใจด้วย เพราะเวลาที่เกิดความเครียดจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียดนั่นเอง 

โดยเจ้าฮอร์โมนแห่งความเครียดนี้จะก่อกวนให้ร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้น เช่น ทำให้เราหิวมากขึ้น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และถ้าเราเครียดบ่อย ๆ ก็เสี่ยงต่อการเกิด 5 ปัญหานี้ได้ ?

  • นอนไม่หลับ เชื่อว่าวัยทำงานหลายคนต้องเจอกับปัญหานี้ เพราะความเครียดส่งผลโดยตรงต่อสมอง ทำให้สมองเกิดความตื่นตัว รวมไปถึงการเต้นของหัวใจ ที่ไม่เพียงแค่ทำให้นอนไม่หลับ แต่ยังมีอาการตื่นกลางดึก หรือตื่นเช้าไม่สดใส สำหรับปัญหานอนไม่หลับที่เกิดจากความเครียดนี้ จะทำให้ร่างกายของเราดูโทรม ดูแก่กว่าวัย เพราะร่างกายไม่สามารถผลิต “โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)” ได้เพียงพอ ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายไม่ถูกซ่อมแซมให้แข็งแรง ส่งผลให้ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง สุขภาพก็แย่ลง ดังนั้น ควรหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เพื่อการพักผ่อนที่เพียงพอ และเพื่อความสดใสพร้อมไปทำงาน
ความเครียด,ความเครียด คือ,ความเครียดเรื้อรัง
  • ผมร่วง เคยสังเกตกันไหม ? ตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงตอนนี้ผมของเราบางลงทุกวัน จะหวี หรือสระผม ก็มักมีเส้นผมหล่นอยู่ที่พื้น ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง ผมบาง ก็มาจากความเครียด เพราะเส้นผมมีระยะการงอกอยู่ 3 ระยะ ถ้าเราเครียดติดต่อกันนาน ๆ จะส่งผลให้เส้นผมเข้าระยะพักตัวไวขึ้น หลุดร่วงได้ง่าย และเสี่ยงกลายเป็นคนผมบาง ศีรษะล้านได้ด้วย
  • ไม่สบาย นอกจากต่อมหมวกไตจะถูกกระตุ้นให้ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลเวลาเกิดความเครียดจนส่งผลให้เซลล์ในร่างกายทำงานผิดปกติแล้ว ยังทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าปกติด้วย และความเครียดยังมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เสี่ยงต่อการเกิดผื่นคัน หรือปัญหาโรคผิวหนัง
  • ระบบความจำแย่ลง เมื่อมีความเครียดอย่างต่อเนื่อง เจ้าฮอร์โมนคอร์ติซอลจะก่อกวนระบบประสาท ทำให้เซลล์ประสาทเติบโตช้า และอาจมีปัญหาหลงลืมง่าย แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์อีกด้วย
  • โรคซึมเศร้า สำหรับวัยทำงานที่มีความเครียดสะสม เสี่ยงมาที่จะมีภาวะซึมเศร้า เพราะเมื่อเราเครียดฮอร์โมนคอร์ติซอลจะไปลดประสิทธิภาพการทำงานของสารสื่อประสาทในสมองอย่าง “เซโรโทนิน” 

สรุป

วัยทำงานทั้งหลาย ควรหมั่นทานอาหารที่ให้วิตามินบีมากขึ้น ฝึกการหายใจเข้าออก นั่งสมาธิเพิ่มความจำที่ดี หรือเล่นโยคะคลายกล้ามเนื้อ เพื่อลดความเครียดจากเรื่องต่าง ๆ และนอกจากจะช่วยลดความวิตกกังวลได้แล้ว ยังช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น อีกทั้งยังทำให้สุขภาพจิตสดใส และสุขภาพกายก็แข็งแรงมากขึ้นด้วย