ง่วงนอน

ง่วงนอน เป็นอาการง่วงที่เกิดจากการสะสมของสารแอดิโนซีน (Adenosine) ในสมอง ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ในช่วงหลังพักเที่ยง หรือช่วงบ่ายของชาวออฟฟิศ ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ

เพราะหลังจากการทานข้าว ร่างกายจะผลิตสารเซโรโทนิน (Serotonin) และเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ทำให้รู้สึกง่วงได้ เพียงแค่ดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มเพิ่มความสดชื่น ก็ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ไม่ยาก

แต่ ! สำหรับบางคนอาจรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าคนอื่น ๆ แถมบางคนก็ง่วงนอนตั้งแต่ช่วงเช้า ซึ่งอาการเหล่านี้นอกจากจะทำให้คุณภาพในการทำงานลดลงแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย และแม้ว่าจะดื่มกาแฟก็ยังไม่ช่วยแก้อาการง่วงนอนได้ ดังนั้น ต้องรีบหาสาเหตุของอาการอยากนอนหลับอยู่บ่อย ๆ เพื่อหยุดปัญหาเหล่านี้ให้ได้ไวที่สุด

ง่วงนอนแบบไหน ผิดปกติ เช็คเลย!

ง่วงนอนบ่อยเสี่ยงเป็นโรคอะไร

แบบปกติ

  1. ง่วงหลังกินข้าว
    เป็นเรื่องปกติ เพราะระบบย่อยอาหารกำลังทำงาน ย่อยมื้อเที่ยงแสนอร่อยที่เพิ่งกินไป ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต หรือน้ำตาล ที่จะเข้ากระแสเลือดหลังจากทานประมาณ 30-60  นาที ทำให้ร่างกายหลั่ง ทริปโตเฟน ซึ่งทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และง่วงนอน

  2. ง่วงไม่นาน สมองไม่เบลอ
    เมื่อเลยช่วงที่ง่วงที่สุดไปแล้ว สมองจะกลับมาตื่นตัวอีกครั้ง และสามารถทำงานได้เหมือนปกติ ยังสามารถคิดไอเดียดี ๆ ได้ถึงแม้จะรู้สึกง่วง สามารถโฟกัสกับสิ่งที่ทำได้เต็มที่

  3. กาแฟ ช่วยได้!
    หากง่วงจนทนไม่ไหว การดื่มกาแฟสักแก้วก็ช่วยให้เราตื่นตัวได้ เพราะกลิ่นและฤทธิ์ของคาเฟอีน ช่วยให้เรารู้สึกตื่นตัว แต่หากการดื่มกาแฟแล้วยังไม่ช่วย นั่นหมายถึงอาการง่วงแบบผิดปกติแล้วนะ เช็คเลย!

แบบผิดปกติ

  1. สมองไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้
    สมองเบลอเพราะพักผ่อนน้อย อาจมาจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือการหลับที่ขาดคุณภาพ ทำให้สมองขาดออกซิเจนเป็นช่วง ๆ ทำให้เราขาดสมาธิ เหม่อลอย ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำได้

  2. ง่วง แบบที่สามารถหลับได้ทันทีถ้าอยากหากทำได้
    เริ่มต้นด้วยอาการรู้สึกหนักหัว รู้สึกหนักเปลือกตา อยากหลับตลอดเวลา ถ้าหากได้หมอนล่ะก็สามารถหลับได้ทันที นั่นเป็นสัญญาณบอกว่า เรามี “ปัญหาการนอนสะสม” ร่างกายกักเก็บความเหนื่อยล้าไว้มาก ทำให้ในเวลากลางวันเราง่วง

สาเหตุของอาการ “ง่วงนอน” ทั้งวัน

ง่วงนอนทั้งวัน

สาเหตุที่ทำให้หลายคนมีปัญหาง่วงนอนอยู่บ่อย ๆ จนอาจทำให้กระทบกับการทำงาน นั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • อดนอน นอนดึก
    หรือ หลับไม่สนิท เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ส่งผลให้เรามีอาการง่วงเหงาหาวนอนได้ตลอดทั้งวัน เพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอก็เหมือนกับโทรศัพท์ที่ใกล้จะแบตหมด ระหว่างวันก็จะมีอาการเพลีย ง่วงนอนอยู่เสมอ

  • ซึ่งการนอนดึก หรือหลับไม่สนิท จนทำให้ง่วงนอนระหว่างวัน ไม่ได้กระทบแค่เรื่องการทำงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาการหลับในขณะขับรถ หรือวูบขณะใช้ของมีคมจนเกิดบาดแผลได้

  • นอนกรน
    การนอนกรน บ่งบอกถึงปัญหาการนอน เสี่ยงอันตรายได้ถึงชีวิต จากภาวะ “หยุดหายใจขณะหลับ” ซึ่งอันตรายมาก และเป็นปัญหาที่คนนอนกรนมักไม่รู้ตัว ว่าอาจมีช่วงหยุดหายใจขณะหลับหลายครั้งต่อคืน ทำให้สมองขาดออกซิเจน ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย สมองล้า รู้สึกไม่สดชื่น

  • ความเครียด
     ทำให้รู้สึกง่วงนอนได้บ่อย ๆ ใช่ค่ะ ! หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าทำไมถึงเกี่ยวข้องกันได้ นั่นเป็นเพราะเวลาที่เราเครียดสะสมนาน ๆ หรือมีสภาพจิตใจไม่สดใสอยู่บ่อยครั้ง จะส่งผลให้เกิดสภาวะซึมเศร้าได้ง่าย ซึ่งภาวะนี้มักทำให้รู้สึกเพลีย อยากหลับตลอดเวลา แต่พอจะเข้านอนจริง ๆ ก็กลับนอนไม่หลับ

  • ผลข้างเคียงจากยา
    อาจทำให้มีอาการง่วงเหงาหาวนอนได้ เช่น กลุ่มยาแก้แพ้ หรือกลุ่มยาคลายเครียด หากใช้ยาประเภทนี้อย่างต่อเนื่อง ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ส่งผลให้มีอาการงาวงนอนตลอดทั้งวันได้ หากใครที่ใช้ยาเหล่านี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ เพราะอาจทำให้หลับใน และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ถ้าใครมีอาการง่วงนอนทั้งวัน ควรรีบหาทางแก้ไขให้ไวที่สุด โดยการนอนให้ได้อย่างน้อย 7 – 10 ชั่วโมง หรือถ้ามีปัญหาเรื่องการนอนจากความเครียด ก็สามารถลองหากิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือนั่งสมาธิ เพราะถ้าปล่อยให้ตัวเองมีอาการอยากหลับอยู่ตลอดเวลาอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้

ง่วงนอน,ง่วงนอนตลอดเวลา,ง่วงนอนทั้งวัน,ง่วงนอนบ่อย,ง่วงนอนแต่นอนไม่หลับ,ง่วงนอนตอนบ่าย,ง่วงนอนตลอดเวลา อ่อนเพลีย
cta deenize1
cta deenize2

เตือน ! ง่วงนอนบ่อย เสี่ยงหลายโรค

ง่วงนอนบ่อย

เตือน ! อาการง่วงนอนตลอดทั้งวันอาจไม่ใช่เรื่องปกติทั่วไป แต่เป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเหล่านี้อยู่

  • โรคเบาหวาน
    หากคุณชอบดื่มน้ำอัดลม หรือชอบทานอาหารรสหวานจัด และมักมีอาการง่วงนอนอยู่บ่อย ๆ อย่าปล่อยไว้เด็ดขาด ! เพราะเวลาที่ร่างกายมีน้ำตาลอยู่ในเลือดสูง จะส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย และง่วงนอนได้ตลอด

  • โรคลมหลับ
    หลายคนอาจยังไม่รู้จักกับโรคนี้ โรคลมหลับเกิดได้จากพันธุกรรม มักมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หลับยากในช่วงเวลากลางคืน หรือบางคนก็อาจมีอาการเห็นภาพหลอน

    สำหรับคนที่ง่วงนอนบ่อย ๆ และมีอาการคล้ายกับข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ให้ไวที่สุด เพราะอาการง่วง เพลีย จากโรคลมหลับนี้ ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการดื่มกาแฟ แต่ต้องใช้ยารักษา และถ้าปล่อยไว้ไม่รีบหาหมอ ก็จะส่งผลให้ขี้ลืม แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นซึมเศร้าอีกด้วย

  • โรคโลหิตจาง
    สำหรับสาว ๆ ต้องรีบเช็คด่วน ! ว่าที่เราง่วงนอนบ่อย ๆ เป็นเพราะโรคนี้หรือไม่ ซึ่งโลหิตจางเกิดจากร่างกายขาดแร่ธาตุเหล็ก โดยเฉพาะสาว ๆ ที่มีประจำเดือน ร่างกายจะอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ดังนั้น ต้องรีบทานอาหารที่ช่วยเสริมแร่ธาตุเหล็ก และพักผ่อนให้เพียงพอ หากยังมีอาการเหนื่อยง่าย ง่วงนอนอยู่บ่อย ๆ ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์

สำหรับคนที่ง่วงนอนทั้งวัน แม้ว่าจะดื่มกาแฟก็ยังไม่หายง่วง ต้องรีบเช็คด่วน ! ว่าเราเสี่ยงเป็นโรคตามข้างต้นหรือไม่ เพื่อจะได้รักษาทัน และป้องกันการมีปัญหาสุขภาพจิตได้เช่นกัน

ง่วงนอน,ง่วงนอนตลอดเวลา,ง่วงนอนทั้งวัน,ง่วงนอนบ่อย,ง่วงนอนแต่นอนไม่หลับ,ง่วงนอนตอนบ่าย,ง่วงนอนตลอดเวลา อ่อนเพลีย
cta deenize1
cta deenize2

ทำไงดี ? ดื่มกาแฟแต่ก็ยัง “ง่วงนอน”

ดื่มกาแฟแต่ยังง่วงนอน

เคยสงสัยกันไหม? ทำไมดื่มกาแฟแล้วแต่ก็ยังไม่หายเพลียสักที นั่นเป็นเพราะว่าในช่วงเวลาที่เราทำงาน ร่างกายจะสูญเสียพลังงาน ส่งผลให้สารง่วง (Adenosine) ถูกหลั่งออกมา ทำให้เรารู้สึกอยากหลับ

ซึ่งคาเฟอีนในกาแฟมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งสารง่วงได้ แต่สำหรับคนที่ดื่มกาแฟทุกวัน ร่างกายจะได้รับคาเฟอีนจนกลายเป็นความเคยชิน จากนั้น ร่างกายก็จะผลิตสารง่วง (Adenosine) ออกมามากขึ้น ทำให้รู้สึกง่วงนอนแม้ว่าดื่มกาแฟไปแล้ว
หลายคนก็อาจแก้ง่วงด้วยการดื่มกาแฟเพิ่มขึ้นไปอีก

ซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาพ เพราะในหนึ่งวันคนเราไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกิน 400 มิลลิกรัม และยังส่งผลให้ตอนกลางคืนนอนหลับยาก กลายเป็นเพลียตอนกลางวันเพิ่มแบบไม่รู้ตัว

ดังนั้น ในหนึ่งวันไม่ควรดื่มกาแฟเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว และสำหรับคนที่ดื่มทุกวันแต่ยังรู้สึกง่วงนอนอยู่ตลอดทั้งวัน ขอแนะนำให้ค่อย ๆ ลดการดื่มกาแฟ จากดื่มทุกวัน เป็นวันเว้นวัน เพื่อให้ร่างกายปรับระดับของการหลั่งสารง่วงให้ออกมาในระดับปกติ

ง่วงนอน,ง่วงนอนตลอดเวลา,ง่วงนอนทั้งวัน,ง่วงนอนบ่อย,ง่วงนอนแต่นอนไม่หลับ,ง่วงนอนตอนบ่าย,ง่วงนอนตลอดเวลา อ่อนเพลีย
cta deenize1
cta deenize2
ง่วงนอน,ง่วงนอนตลอดเวลา,ง่วงนอนทั้งวัน,ง่วงนอนบ่อย,ง่วงนอนแต่นอนไม่หลับ,ง่วงนอนตอนบ่าย,ง่วงนอนตลอดเวลา อ่อนเพลีย

รวมเคล็ดลับ ! แก้ง่วงนอนระหว่างวันแบบง่าย ทำได้โดยไม่ต้องพึ่งกาแฟ

  • ลดน้ำตาลและแป้ง
    อย่าปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกง่วงนอนได้ง่าย ๆ และยังเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานอีกด้วย โดยเฉพาะวัยรุ่นชาวออฟฟิศทั้งหลาย ที่ชอบดื่มน้ำหวานระหว่างวัน และเน้นมื้อกลางวันจนทำให้ง่วงนอนบ่อย ๆ

  • ลุกเดิน ยืดเส้นยืดสาย
    พอเริ่มรู้สึกอยากนอนเมื่อไหร่ ลองลุกเดิน ขยับแขนขา หรือดื่มน้ำเปล่าเย็น เพื่อให้หายง่วงนอน และรู้สึกสดชื่นมากขึ้น

  • หายใจเข้าลึก ๆ
    เพิ่มออกซิเจนให้กับสมองด้วยอากาศบริสุทธิ์ จะช่วยลดอาการง่วงนอนได้ง่าย ๆ ซึ่งวิธีนี้ยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นด้วย

  • ปรับพฤติกรรมการนอน
    ลองเข้านอนให้ไวขึ้น หลับให้ได้อย่างน้อย 7 – 10 ชั่วโมง เพื่อลดอาการง่วงนอนระหว่างวัน และเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยให้สุขภาพจิตใจ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ดี

กลางคืนนอนได้ดี กลางวันก็ใช้ชีวิตได้เต็มที่ อยากนอนดี ต้อง “ดีไนซ์”

ง่วงนอน,ง่วงนอนตลอดเวลา,ง่วงนอนทั้งวัน,ง่วงนอนบ่อย,ง่วงนอนแต่นอนไม่หลับ,ง่วงนอนตอนบ่าย,ง่วงนอนตลอดเวลา อ่อนเพลีย

เพิ่มคุณภาพการนอน ด้วยสารสกัดสมุนไพรแห่งการนอน 9 ชนิด

คาโมไมล์ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย หลับง่าย ปรับคลื่นสมองให้อยู่ในระดับ Delta Wave ทำให้การนอนอยู่ในระดับคงที่

สาระแหน่ฝรั่ง ช่วยป้องกันภาวะผิดปกติของเคมีในสมอง เป็นสารสกัดที่นิยมใช้ในการรักษาผู้ป่วยซึมเศร้า และผู้ป่วยอัลไซเมอร์

กระชายดำ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของร่างกาย และสมอง ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เลือดลมไหลเวียนดี และ สมุนไพรอีกกว่า 6 ชนิด อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก

  • ✅หลับสนิท ไม่ตื่นกลางดึก 
  • ✅หลับง่าย แม้เรื่องเครียดอยู่เต็มหัว
  • ✅บำรุงสมอง ปรับเคมีทางอารมณ์ แก้ปัญหาการนอนที่ต้นเหตุ
  • ✅ปลอดภัยกว่าเมลาโทนิน และยานอนหลับ

?ส่งฟรี ?เก็บเงินปลายทางฟรี

dee nize2
cta deenize1
cta deenize2

สรุป

ง่วงนอนระหว่างวัน เป็นเรื่องปกติที่ไม่ปกติ ต้องสังเกตตัวเองว่าร่างกายกำลังบอกอะไรกับคุณ ถ้าร่างกายเรียกร้องกาแฟแก้วที่ 2  แก้วที่ 3 ในช่วงบ่าย ๆ นั่นไม่ใช่เรื่องปกติ หากรู้ว่าร่างกายเริ่มประท้วง อย่าฝืน! ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนทุกอย่างจะสายไป เริ่มต้นได้ที่วิธีปรับการนอน เพราะสุขภาพดี เริ่มต้นที่การนอน

ง่วงนอน,ง่วงนอนตลอดเวลา,ง่วงนอนทั้งวัน,ง่วงนอนบ่อย,ง่วงนอนแต่นอนไม่หลับ,ง่วงนอนตอนบ่าย,ง่วงนอนตลอดเวลา อ่อนเพลีย