เมลาโทนิน

เมลาโทนนิน (Melatonin) คืออะไร

เมลาโทนิน (Melatonin) คือ ฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมสมดุลการนอนหลับของมนุษย์ ซึ่งโดยปกติสามารถสร้างขึ้นเองได้โดยธรรมชาติ โดยจะสร้างในช่วงกลางคืนทำให้ร่างกายรู้สึกง่วงและสามารถนอนหลับได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ในช่วงก่อนนอน เมลาโทนินจะเป็นฮอร์โมนที่บอกร่างกายให้รู้สึกง่วง และจะหลั่งมากที่สุดในช่วง 02.00-03.00 น. เพื่อรักษาสมดุลการนอน ให้หลับสนิท หลับลึก

ปริมาณของเมลาโทนินที่ร่างกายสร้างได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ปัจจัยหลักที่มีผลกับการหลั่งเมลาโทนินคือรูปแบบกิจกรรมที่ทำก่อนนอน สภาพแวดล้อมในการนอน และอายุ ซึ่งปัญหาการนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท มักพบในผู้สูงวัยเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนมากไม่รู้ตัวว่ากำลังมีปัญหาการนอนอยู่

เรื่องต้องรู้ ก่อนใช้เมลาโทนิน

ในประเทศไทย เมลาโทนินเป็นยาที่ประชาชนทั่วไปอย่างเรา ❌ยังไม่มีสิทธิที่จะซื้อเองตามร้านขายยา❌ หรือสั่งซื้อผ่านร้านค้าออนไลน์ได้อย่างถูกกฎหมาย ต้องถูกสั่งจ่ายจากแพทย์เท่านั้น มักใช้เป็นยาพิเศษที่ใช้รักษาผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับในระดับเบา เช่น ปัญหาการนอนจาก Time Zone, Jet lag รวมไปถึงผู้สูงวัยที่ยังไม่ถึงขั้นต้องใช้ยา

ทำความรู้จัก “เมลาโทนินสังเคราะห์” ที่เราใช้ 

เมลาโทนินไม่ว่าจะรูปแบบเยลลี่ หรือรูปแบบแคปซูล ที่แอบขายกันทั้งไปตามท้องตลาด ไม่ใช่เมลาโทนินจริงที่มาจากร่างกายของเรา แต่ถูกสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนที่ชื่อว่า “ทริปโตเฟน” ที่จะถูกเปลี่ยนเป็น “เซโรโทนิน” ก่อนกระบวนการทางร่างกาย จะทำให้กลายเป็นเมลาโทนิน ตามขั้นตอนดังภาพ

เมลาโทนิน ทำหน้าที่อะไร

ที่มาของการ สังเคราะห์ฮอร์โมนเมลาโทนิน ถูกคิดค้นและจดทะเบียนอย่างถูกกฎหมายครั้งแรกในปี ค.ศ. 2007 โดยบริษัท นิวริม ฟาร์มาซูติคอลส์ (Neurim Pharmaceuticals) ประเทศอิสลาเอล โดยมีชื่อแรกว่า Circadin สร้างมาเพื่อรักษาโรคนอนไม่หลับสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี โดยเฉพาะ

เมลาโทนินสังเคราะห์ มีหลายประเภทมากกว่าแบบเยลลี่ หรือแบบเม็ดแคปซูลที่เราเห็นตามร้านค้าออนไลน์ หากใช้โดยไม่มีข้อมูล อาจก่อผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ เพราะ สารสังเคราะห์อาจไม่สามารถเข้ากับร่างกายของเราได้แบบสมบูรณ์ ในบางรายมีอาการแพ้เมลาโทนิน ทั้งผลในระดับเบา และรุนแรง แตกต่างกันไป 

dee nize2
cta deenize1
cta deenize2

ผลของเมลาโทนิน ที่เราอาจไม่คาดคิด นาฬิกาชีวิตพัง!

เมลาโทนิน ผลข้างเคียง

ผลของ “อาการไม่พึงประสงค์” 

ระดับเบา

  • ตื่นเช้าแบบไม่สดชื่น
  • มวนท้อง ไม่สบายท้อง

อาจเกิดกับผู้ที่กำลังเริ่มใช้เมลาโทนินได้ไม่นาน หรือผู้ที่ใช้เมลาโทนินเฉพาะตอนที่จำเป็นจริง ๆ เช่น ต้องเดินทางข้าม Timezone อาจจะใช้นาน ๆ ครั้ง ไม่ได้ใช้เป็นประจำทุกวัน และใช้ในปริมาณไม่เกิน 5 มก. จะไม่ส่งผลที่อันตรายจนทำให้เรารู้สึกได้ บางรายอาจไม่ส่งผลเสียใด ๆ เลย 

หากท่านมีปัญหาในระดับนี้ สามารถแก้ไขด้วยตนเองเบื้องต้น ด้วยการปรับพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่กระตุ้นการสร้างเมลาโทนินให้ร่างกายในช่วงเวลาก่อนนอน

เช่น ออกกำลังกายเบา ๆ ในช่วงเย็น ฟังดนตรีบรรเลงเบา ๆ งดเล่นมือถือก่อนนอน หรือ การรับแสงอ่อน ๆ ในตอนสาย ช่วง 9-10 โมงเช้า เพื่อกระตุ้นการสร้างเมลาโทนินก่อนนอน อาจต้องใช้เวลาปรับตัวสักระยะหนึ่งประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด และฟรี

ระดับปานกลาง 

  • ปวดหัว เวียนหัว ง่วงระหว่างวัน
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • อารมณ์แปรปรวน
  • อ่อนเพลียตลอดทั้งวัน

การหลับด้วยเมลาโทนินร่างกายอาจไม่สามารถหลับสนิทได้เท่าการนอนด้วยตนเอง มีช่วงหลับลึกที่สั้นกว่าปกติ ทำให้ตอนตื่นไม่สดชื่นเท่าการนอนด้วยตนเอง หากร่างกายหลับไม่สนิทบ่อยครั้ง จะก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าที่สะสม ในระดับนี้เริ่มกระทบกับการใช้ชีวิต มักพบในผู้ที่ใช้เมลาโทนิน ที่ใช้มากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในปริมาณความเข้มที่ 5-10 มก. คนกลุ่มนี้มักไม่คาดคิดว่าอาการเหล่านี้มีผลมาจากการใช้เมลาโทนิน 

หากท่าอยู่ในระดับนี้ สามารถเริ่มด้วยการแก้ด้วยการปรับกิจกรรมที่ทำก่อนนอน  เช่น ปรับเวลานอนให้เร็วขึ้น โดยการทำกิจกรรมที่ทำก่อนนอนให้เร็วขึ้น เช่น ทานมื้อเย็นให้เร็วขึ้น อาบน้ำเข้านอนให้เร็วขึ้น หรือสร้างพฤติกรรมก่อนนอนที่คุ้นชินแทนการทานเมลาโทนิน เช่น การดื่มนมอุ่น ๆ ก่อนนอน หรือการอ่านหนังสือก่อนนอน สัก 30 นาที

ควรลดความเข้มข้นของเมลาโทนินที่ใช้ลง หรือลดความถี่ในการใช้ ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช้เฉพาะคืนที่ต้องการหลับเร็วเป็นพิเศษ หรือใช้เป็นตัวเลือกสุดท้ายในคืนที่นอนไม่หลับถึงแม้จะปรับสภาพแวดล้อมห้องนอนแล้วก็ตาม

ระดับรุนแรง

  • ใช้ในปริมาณเท่าเดิม แต่ยังไม่ง่วง
  • นอนไม่หลับ หากไม่ใช้เมลาโทนิน
  • เริ่มมีความคิดว่า “อยากลองใช้ยาที่ทำให้หลับ”

ในระดับนี้เป็น ระดับวิกฤต ที่บอกเราว่าควรเลิกใช้เมลาโทนนิน ก่อนสมดุลการนอนของร่างกายจะพัง มักเกิดกับผู้ที่ใช้เมลาโทนินเป็นประจำแทบทุกวัน เป็นเวลาต่อเนื่องมากกว่า 1 เดือน สังเกตได้จากความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและความคิด

ทางความคิด ก่อเกิด “พฤติกรรมคุ้นชิน” กับการใช้เมลาโทนิน หากไม่ใช้จะเกิดความคิดว่า “ถ้าไม่กินจะนอนไม่หลับ” ซึ่งนั่นไม่จริง เพราะร่างกายเราสร้างเมลาโทนินเองได้อยู่แล้ว หากพฤติกรรมอยู่ในระดับนี้ อาจก่อให้เกิดเงื่อนไขทางอารมณ์ เริ่มมีความไม่สบายใจ ไม่สบายตัว หงุดหงิด ถ้าหากไม่ได้ทำสิ่งนั้น ซึ่งมี ผลต่อการแสดงออกต่อสังคม คนรอบข้าง และครอบครัว

ทางร่างกาย เกิดความคุ้นชินกับปริมาณเมลาโทนินที่เรากินเข้าไป ส่วนมากอยู่ที่ 0.5-5 มก. ซึ่งเป็นปริมาณที่มากพอที่จะทำให้รู้สึกง่วงได้ แต่หากใช้ในปริมาณที่มากกว่า 5 มก. อาจส่งผลเสียในระยะยาวต่อวงจรการนอนได้ 

เมื่อร่างกายรับเมลาโทนินสังเคราะห์จากภายนอก ในปริมาณความเข้มข้นที่สูงกว่าที่ร่างกายคุ้นชิน จะส่งผลให้ร่างกายสร้างเมลาโทนินด้วยตัวเองน้อยลง เพื่อรักษาสมดุลทางฮอร์โมนในร่างกาย 

หากใช้เมลาโทนินในปริมาณที่มากเป็นประจำ ขณะที่ปัญหาการนอนที่มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จะยิ่งซ้ำเติมการหลั่งเมลาโทนินด้วยต้นเองยิ่งขึ้นไปอีก นั่นเป็นเหตุผลว่า “ทำไมคนที่ติดเมลาโทนิน ยิงใช้ ยิ่งต้องเพิ่มความเข้ม?” และ “ทำไมกินเมลาโทนินในปริมาณเท่าเดิม แต่ยังไม่ง่วง?” ทำให้คนเลิกใช้เมลาโทนินไม่ได้ 

เมลาโทนินสังเคราะห์ในรูปแบบอาหารเสริม อาจไม่เข้ากับร่างกายของเราทุกคน หากมีอาการตามข้างต้นหลังจากที่ใช้อาหารเสริมประเภทเมลาโทนิน หรือยาที่มีส่วนผสมของเมลาโทนิน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ซ้ำ และปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ปัญหาหลับยาก 

หากท่านมีปัญหาอยู่ในระดับนี้ การเลิกเมลาโทนินในทันที อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด ต้องค่อย ๆ ลดปริมาณลง และปรึกษาแพทย์ด้านการนอน หรือจิตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรคอื่น ๆ ที่มักมากับปัญหาการนอนด้วย เช่น โรคซึมเศร้า โรคแพนิก โรคไบโพล่า โรควิตกกังวล ซึ่งอาจเป็นต้นตอหลักของอาการนอนไม่หลับที่เรื้อรังมานาน

หรือ ใช้วิตามินช่วยนอนหลับ เป็นทางเลือกที่ดีก่อนไปพบแพทย์

Dee-Nize มีสารสกัดที่ช่วย “กระตุ้นการสร้างเมลาโทนินด้วยตนเอง”

เมลาโทนินคือ

ด้วยสารสกัดจาก ?ผงเชอร์รี่ทาร์ต ที่มีกรดอะมิโนทริปโตเฟน ซึ่งเป็นสารสำคัญในการสร้างเมลาโทนินของร่างกาย กระตุ้นการสร้างเมลาโทนินโดยร่างกายของเราเอง ดีกว่าการใช้เมลาโทนินสังเคราะห์ แบบเยลลี่หรือแคปซูลที่มักใช้กัน บรรเทาการผิดปกติทางสมอง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

dee nize2
cta deenize1
cta deenize2

สารสกัดช่วยการนอน

เพื่อปรับสมดุลทางอารมณ์ให้สงบ ผ่อนคลาย พร้อมนอน 

  • ดอกคาโมไมล์ ช่วยสร้างความผ่อนคลายให้กับสมอง ปรับอารมณ์ให้สงบจากความคิดที่ยุ่งเหยิง 
  • สารสกัดพรมมิ ช่วยกระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาท ทำให้อารมณ์คงที่ รู้สึกสงบ สามารถหลับได้เร็วขึ้น
  • สารสกัดสาระแหน่ฝรั่ง ช่วยลดภาวะผิดปกติทางจิต ในผู้ป่วยกลุ่มฮิสเทอเรีย โรคซึมเศร้า และอัลไซเมอร์
  • สารสกัดจากกระชายดำ มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดระดับคลอเรสเตอรอล ที่รบกวนการนอนในผู้สูงวัยทอรีน ช่วยเพิ่มระดับความจำของสมอง ต้านอนุมูลอิสระ ที่รบกวนการนอน ทำให้หลับสนิท

สารสกัดบำรุงสมอง

 สร้างสมดุลทางอารมณ์และความคิด แก้ปัญหาการนอนที่ต้นเหตุ

  • คลีน แอล-ไบทาเทรต เป็นสารสื่อประสาทที่ ใช้ในการส่งกระแสประสาทของสมอง ทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น
  • สารสกัดใบแป๊ะก๊วย ช่วยในการทำงานของ ระบบเลือดไหลเวียนโลหิต ให้ไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น
  • สารสกัดจากพริกไทยดำ ช่วย ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ สมอง และร่างกาย
เมลาโทนิน,เมลาโทนินคือ

ดีไนซ์ เป็นวิตามินช่วยนอนหลับ ที่นอกจากช่วยให้หลับง่าย และยังช่วยบำรุงสมอง เป็นการแก้ปัญหาการนอนจากต้นเหตุ เพราะสาเหตุหลักของการนอนไม่หลับ แท้จริงแล้วมาจากสมอง ที่มีภาวะผิดปกติทางอารมณ์ และฮอร์โมน

สุขภาพดี เริ่มต้นจากการนอนที่ดี

สร้างการนอนที่ดี จากสมองสุขภาพดี อารมณ์คงที่ สุขภาพจิตดี นอนหลับสบาย 

สารสกัด dee nize
cta deenize1
cta deenize2

สรุป

เมลาโทนินสังเคราะห์ เป็นตัวเลือกที่ดีหากใช้ในการแก้ปัญหาการนอนในระดับเบา แต่การใช้บ่อยจนเสพติด จนส่งผลกระทบต่อร่างกายและการใช้ชีวิต ก็ควรหาตัวเลือกอื่นในการแก้ปัญหาการนอน อาจเริ่มต้นแก้ปัญหาการนอนจากการปรับพฤติกรรม กิจวัตรที่ทำ อาหารที่กิน หรือการใช้วิตามินช่วยนอนหลับที่ปลอดภัย

แต่ทางเลือกสุดท้ายที่แนะนำหากลองวิธีเหล่านี้แล้วยังไม่ได้ผล คือ การพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยต้นตอที่แท้จริงของปัญหา และรักษาให้ตรงจุดมากที่สุด ก่อนร่างกายจะพังก่อนวัย 

เมลาโทนิน,เมลาโทนินคือ
56
dee nize2
cta deenize1
cta deenize2

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ