jet lag

Jet Lag (เจ็ตแล็ก) เป็นอาการที่นักเดินทางหลายคนต้องเจอ ถือว่าเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่ยากจะรับมือได้เลยทีเดียว วันนี้ ! จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการผิดปกติทางการนอน และสุดยอดวิธีรับมือที่ทำได้ง่าย ๆ ปลอดภัย แถมยังไม่ต้องพึ่งสารเมลาโทนินให้กระทบสุขภาพด้วย

ทำความรู้จักกับ “นาฬิกาชีวิต” ต้นเหตุของ Jet lag

นาฬิกาชีวิต  (Biological clock) คือ ระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามช่วงเวลาที่คุ้นชิน โดยส่วนมากจะตอบสนองกับแสงของดวงอาทิตย์ ที่จะบอกกับเราว่า “เช้าแล้วนะ ต้องลุกจากที่นอน” เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ไล่เรียงกันไปตามลำดับกิจกรรมของช่วงเวลาต่าง ๆ ระหว่างวัน

การเดินทางข้ามโซนเวลา (Time Zone) ส่งผลกระทบต่อความคุ้นชินของร่างกายต่อสภาพแวดล้อม ทั้งในเรื่องของแสงอาทิตย์ เวลาอาทิตย์ขึ้น เวลาอาทิตย์ตก บรรยากาศต่าง ๆ ทำให้ร่างกายที่เดินทางข้ามทวีป ที่มีความแตกต่างของโซนเวลา จะทำให้เกิดอาการ Jet lag 

Jet Lag คือ ???

jet lag คือ

Jet Lag (เจ็ตแล็ก) หรืออาการนอนไม่หลับที่เกิดจากความผิดปกติของการปรับตัวให้เข้ากับเวลาใหม่ ซึ่งปัญหานี้จะเกิดกับผู้ที่เดินทางโดยเครื่องบินเป็นเวลานาน ๆ จึงมีเรื่องของแรงดันอากาศ สภาพอากาศ ระดับความสูง และความชื้นเป็นตัวการทำให้เกิดอาการ Jet Lag ได้ง่าย เพราะทุกปัจจัยล้วนแต่ส่งผลให้ร่างกายของเราขาดน้ำ

นอกจากปัญหาหลับยาก ตื่นกลางดึกบ่อย หรือหลับไม่ได้คุณภาพจะเป็นผลมาจาก Jet Lag แล้ว ยังมีอีกหลายอาการที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่พยายามจะปรับตัวให้เข้ากับเวลาใหม่ตามนฬิกาชีวิต

กลุ่มเสี่ยง jet lag ที่ควรเตรียมตัว ก่อนเดินทางให้ดี

  • นักเดินทาง โดยเฉพาะคนที่เดินทางข้ามโซนเวลาครั้งแรก ส่วนมากจะเกิดอาการ jet lag เพราะร่างกายปรับตัวไม่ทัน ใครที่กำลังจะเดินทาง ควรเตรียมร่างกายให้ดี เพื่อลดความรุนแรงของอาการให้ได้มากที่สุด

  • พนักงานบริการบนเครื่องบิน เป็นกลุ่มคนที่เดินทางบ่อย และใช้พลังงานไปกับการเดินทางมาก เพราะต้องทำงานบริการผู้โดยสาร อาการ Jet lag คงเป็นของคู่กัน แต่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการทำร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ

  • ผู้ที่พักผ่อนน้อย มีร่างกายไม่แข็งแรง เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการ Jet lag สูง และอาการอาจอยู่นานกว่าคนที่พักผ่อนเพียงพอ ควรวางแผนการนอนให้ดีก่อนเดินทาง และวางแผนการพักผ่อนหลังเดินทางอย่างน้อย 1 วันก่อนเที่ยว

  • ผู้สูงอายุ เพราะนาฬิกาชีวิตขึ้นอยู่กับฮอร์โมนในร่างกายด้วย เมื่อสูงวัย ฮอร์โมนหลั่งได้น้อย ทำให้ Jet lag จะรุนแรงกว่าปกติ

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิต รวมไปถึงโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคแพนิก ที่อาจเกิดอาการ สมองหลั่งฮอร์โมนออกมาได้ไม่ปกติ  ทำให้รู้สึกกดดัน กังวล เมื่อต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน ในระยะทางไกล ๆ ถึงแม้จะถึงที่หมายโดยปลอดภัย แต่ความรู้สึกกังวลยังคงอยู่

9 เทคนิค ป้องกันภาวะ Jet Lag

ถ้าคุณไม่อยากให้ทริปของคุณน่าเบื่อเพราะอาการ Jet Lag หรือนัดคุยงานสำคัญต้องล่มเพราะเมาเวลา ลองใช้ 9 วิธีต่อไปนี้ดูแลร่างกาย รับรอง ! ไม่มีอาการ Jet Lag มารบกวนอย่างแน่นอน

jet lag แก้ยังไง

ก่อนเดินทาง

  • พักผ่อนให้เพียงพอก่อนขึ้นเครื่องทุกครั้ง เพื่อให้ร่างกายพร้อมปรับตัวกับโซนเวลาใหม่ ช่วยลดปัญหา Jet Lag ได้อย่างดี

  • ฝึกปรับเวลาล่วงหน้า ก่อนการเดินทางอย่างน้อย 3 – 4 วัน ควรปรับเวลาการเข้าให้ไวขึ้น หรือช้าลง อย่างน้อย 1 – 2 ชั่วโมง โดยดูจากโซนเวลาประเทศที่เราจะไป เพื่อให้ร่างกายคุ้นชิน ไม่มีอาการ Jet Lag มากวนใจ หลับได้ง่ายขึ้น และไม่ต้องพึ่งยานอนหลับให้สุขภาพเสียด้วย

  • ไม่นั่งเครื่องนาน ถ้าต้องเดินทางเป็นเวลาหลายชั่วโมง แนะนำให้หาไฟล์ทที่สามารถต่อกันได้ ไม่ต้องนั่งอยู่ในเครื่องนานเกินไป วิธีนี้ช่วยลดภาวะ Jet Lag ได้ดีเลย

ระหว่างเดินทาง

  • ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ เทคนิคนี้มีประโยชน์มาก เพราะนอกจากจะช่วยลด Jet Lag แล้ว ยังช่วยลดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ได้อีกด้วย

  • งดชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นทำให้คุณ Jet Lag ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์จะยิ่งทำให้ร่างกายของเราขาดน้ำมากยิ่งขึ้น หากดื่มในระดับความสูงบนเครื่องบิน ที่อากาศแห้งมาก

  • ลุกเดินบ้าง เพื่อให้ร่างกายตื่นตัวเสมอ พยายามลุกเดิน ขยับแขนขาบ้าง และไม่ควรนั่งทำงานบนเครื่องบิน เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้รู้สึกปวดศีรษะ และไม่สบายตัวได้ง่าย

เมื่อถึงที่หมาย

  • รับแสงแดดบ่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายของเราปรับเข้ากับโซนเวลาใหม่ได้ไวขึ้น โดยเลือกเป็นแดดอ่อน ๆ ช่วงเช้า วิธีนี้ได้ทั้งความสดชื่น ปลอดโปร่ง และลด Jet Lag ได้ดีเลยนะ

  • ออกกำลังกาย ช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น แต่ควรเลือกการออกกำลังกายแบบเบา ๆ ก่อน อาจจะเล่นโยคะ เต้นแอร์โรบิค หรือบริหารกล้ามเนื้อทั่วไป

  • ไม่ทานอาหารเยอะเกินไป ในช่วงวันแรก ๆ ที่เดินทางมาถึงจุดหมาย ไม่แนะนำให้ทานอาหารหนัก หรือจุกแน่นเกินไป เพราะหนึ่งในอาการ Jet Lag เกี่ยวข้องกับช่องท้องเช่นกัน อาจยิ่งทำให้ระบบลำไส้ยิ่งทำงานได้ยากขึ้น

พยายามปรับกิจวัตรประจำวัน ให้เหมาะสมกับโซนเวลาของพื้นที่ใหม่ที่เรากำลังจะไป โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ก็สามารถคุ้นชินกับสภาพแวดล้อมใหม่ และปรับนาฬิกาชีวิตให้กลับมาเป็นปกติได้

dee nize2
cta deenize1
cta deenize2

รวมอาการที่เกิดจาก “Jet Lag”

อาการ jet lag

อาการ Jet Leg ที่นักเดินทางมักเจอบ่อย ๆ ไม่ได้มีแค่นอนไม่หลับ แต่ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายเกือบทุกส่วน เพราะช่วงเวลาที่เรานอนจะเป็นช่วงเวลาของการผลิตโกรทฮอร์โมน เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่เมื่อมีปัญหา Jet Lag เกิดขึ้น ร่างกายไม่ได้พักผ่อนจึงส่งผลเสียตามมามากมาย ดังนี้

  • ปวดหัว เพราะสภาพอากาศ ความดันอากาศ รวมไปถึงระดับความสูง ที่ทำให้เกิดสภาวะขาดน้ำ จึงส่งผลให้รู้สึกปวดหัว วิงเวียน คลื่นไส้ได้

  • ท้องเสีย เป็นหนึ่งในอาการของคนที่ Jet Lag เพราะเมื่อเกิดความผิดปกติของร่างกายในการปรับตัวให้เข้ากับเวลาใหม่ แน่นอน ! ปัญหานี้ส่งผลต่อระบบลำไส้ และกระเพาะด้วย จึงทำให้ผู้ที่เมาเวลาอาจรู้สึก มวนท้อง คลื่นไส้ ถ่ายบ่อย และปวดท้องได้

  • อารมณ์แปรปรวน หลายคนคงสงสัยว่า Jet Lag จะส่งผลให้อารมณ์ของเราแปรปรวนได้อย่างไร จริง ๆ แล้วเป็นผลมาจากร่างกายไม่สามารถพักผ่อนได้เพียงพอ จึงทำให้หลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือสารแห่งความเครียดออกมานั่นเอง ทำให้หงุดหงิดง่าย และยิ่งหลับยากเข้าไปอีก

  • ขาดสมาธิระหว่างวัน ข้อนี้เป็นผลเสียอย่างมากสำหรับวัยทำงาน หรือนักธุรกิจ ที่ไม่สามารถโฟกัสกับงานได้ 100 %  ทำให้งานที่ทำไม่ได้คุณภาพ และอาจล่าช้ากว่ากำหนด

  • เบื่ออาหาร อีกหนึ่งปัญหาที่พบเจอได้ในภาวะ Jet Lag ซึ่งอาการข้อนี้จะยิ่งทำให้ร่างกายแย่ลง หลับยากกว่าเดิมเพราะขาดสารอาหาร

ทุกปัญหาที่เป็นผลมาจากภาวะ Jet Lag อาจจะดูไม่รุนแรงมาก แต่ก็ทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัวจนกระทบเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันได้เลย โดยเฉพาะวัยทำงานที่ต้องแบกรับงานมากมาย ถ้าไม่รีบหาทางแก้อาการเมาเวลานี้ได้ ก็อาจทำให้กระทบกับเรื่องงานได้เช่นกัน

สิ่งที่ใช้รักษาอาการ Jet lag

jet lag,jet lag คือ,jet lag แก้ยังไง,jet lag อาการ,jet lag หมายถึง
  • เมลาโทนิน เป็นที่นิยมใช้ ช่วยปรับเวลาการนอน ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถหาซื้อได้อย่างถูกกฏหมายในบางประเทศ สามารถใช้ได้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่อย่างนั้นอาจนำมาซึ่งผลข้างเคียงที่ทำลายการนอน ยิ่งกว่าอาการ Jet lag เสียอีก อ่านบทความเพิ่มเติม คลิก เมลาโทนินใช้แค่ไหนถึงอันตราย! 

  • ยานอนหลับ กลุ่ม Nonbenzodiazepines เป็นตัวเลือกสุดท้าย สำหรับผู้ที่มีปัญหา jet lag ในขั้นที่รุนแรง ซึ่งส่วนมากจะใช้กับกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวอื่นแทรกซ้อนด้วย

  • ใช้วิตามินช่วยนอนหลับ ส่วนมากช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สามารถหลับได้ ดีกว่าการใช้ยานอนหลับ และเมลาโทนินแบบสังเคราะห์ อ่านบทความเพิ่มเติม คลิก เผยความลับ! วิตามินช่วยนอนหลับ คืออะไร?

ดีไนซ์ขอแนะนำ ให้เตรียมตัวให้ดีก่อนเดินทาง เพื่อทริปสุดพิเศษจะได้ไม่พัง สนุกกับการเดินทางได้เต็มที่ สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่โดยรบกวนจาก Jet lag สิ่งสำคัญที่สุดคือการพักผ่อน นอนให้อิ่ม นอนให้ดี ร่างกายพร้อมเดินทาง ด้วย “ดีไนซ์”

พกดีไนซ์ ยังไงก็ไม่ Jet Lag

วิธีแก้ jet lag

ดีไนซ์ (Dee – Nize) เพียงแค่ 1 แคปซูลก่อนนอน 30 นาที ก็ช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย อยากนอนมากขึ้น แถมยังช่วยให้หลับสนิทตลอดคืน

ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติที่หลากหลายอย่าง คาโมมายล์ กระชายดำ สะระแหน่ฝรั่ง สารสกัดจากพรมมิ เชอร์รี่ทาร์ต ใบแป๊ะก๊วย และพริกไทยดำ “ปราศจากสารเมลาโทนิน” ไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ ใช้ได้ทุกวัน หลับดีทุกคืน ดีไนซ์ (Dee – Nize)

หลากหลายประโยชน์จากสารสกัดต่าง ๆ ดีไนซ์ (Dee – Nize) จึงไม่ได้มีดีแค่ช่วยให้หลับง่าย แต่ยังช่วยปรับสมดุลของการนอนให้ได้คุณภาพมากขึ้น ช่วยเสริมสร้างความจำจึงเหมาะมากกับวัยทำงานที่มีปัญหา Jet Lag

dee nize2
cta deenize1
cta deenize2

ได้เวลาดีไนซ์ ได้เวลาเข้านอน

jet lag,jet lag คือ,jet lag แก้ยังไง,jet lag อาการ,jet lag หมายถึง

อย่าปล่อยให้อาการ Jet Lag เข้ามารบกวนสุขภาพ จนเกิดปัญหาต่อร่างกาย ให้คุณหลับสนิทตลอดคืน รู้สึกถึงการพักผ่อนอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเดินทางใกล้ไกลอย่าลืมพก “ดีไนซ์ Dee – Nize” ติดไปทุกที่

สรุป

ไม่มีอีกแล้ว ! ปัญหานอนไม่หลับ เพลีย ไม่สดชื่นเพราะอาการ Jet Lag หลังการเดินทางเพียงแค่ใช้ 9 เทดนิคดูแล เตรียมความพร้อมให้กับร่างกายปรับเขา้กับโซนเวลาใหม่ได้ง่ายขึ้น ปัญหาเมาเวลาจนหลับยากไม่มีทางมารบกวนอย่างแน่นอน หากยังตื่นกลางดึก หลับไม่สนิท ต้องให้ ดีไนซ์ Dee – Nize ดูแล แค่ 1 แคปซูลก็เอาอยู่ ได้เวลาดีไนซ์ ได้เวลาเข้านอน

56
cta deenize1
cta deenize2
jet lag,jet lag คือ,jet lag แก้ยังไง,jet lag อาการ,jet lag หมายถึง

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก