โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่ในปัจจุบันมีตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น บางคนรับรู้ว่าตังเองกำลังป่วย และพยายามหาวิธีรักษา แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็น นั่นเป็นเพราะอาการของโรคซึมเศร้าบางอาการก็คล้ายเคียงกับอาการของโรคอื่น ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงหนึ่งในอาการที่ทำให้หลายคนสับสน และอาจคาดไม่ถึงว่าตัวเองกำลังประสบปัญหาโรคซึมเศร้าอยู่ นั้นก็คือ อาการนอนไม่หลับ นั่นเอง
โรคซึมเศร้า คือ อะไร
โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ถูกหลั่งออกมาจนทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพจิตใจและสภาพร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ และถ้าถามว่าโรคซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากอะไร เราสามารถพบสาเหตุของโรคนี้ได้หลายปัจจัยมาก ไม่ว่าจะเป็น อกหัก ผิดหวัง เคยอุบัติเหตุ มีเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง อาการเจ็บป่วย ความเครียดจากการทำงาน หรือแม้แต่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุใด ๆ ก็ได้ด้วยเช่นกัน
โรคซึมเคร้าเป็นโรคที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ เพราะไม่มีใครสามารถร่วงรู้ได้ว่าโรคนี้จะหายเมื่อไหร่ แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็น “โรค” ก็สมควรที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น
- การทานยาเพื่อปรับระดับสารเคมีในสมองให้กลับมาเป็นปกติ
- การพูดคุยกับจิตแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกดี มีกำลังใจ และผ่อนคลายมากขึ้น
- การรักษาด้วยไฟฟ้า (เป็นการรักษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าระดับรุนแรง)
เมื่อผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แน่นอนว่าย่อมมีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจ จากที่เคยเป็นคนร่าเริงก็กลายเป็นคนเก็บตัว ไม่อยากพบเจอใคร รู้สึกหดหู่ หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน รู้สึกท้อแท้หมดหวัง รู้ว่าตัวเองไร้ความสามารถ ขาดความมั่นใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า อยากร้องไห้ตลอดเวลา ไปจนถึงขั้นไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อ
ส่วนอาการทางร่างกายที่พบได้ บางคนอาจมีอาการไม่อยากอาหาร หรือกินอาหารมากกว่าปกติ รู้สึกไม่มีแรงทำอะไร อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว และอีกอาการหนึ่งที่เป็นกันค่อนข้างมาก คือ นอนไม่ค่อยหลับ นอนไม่เต็มอื่น หลับ ๆ ตื่น ๆ ง่วงนอน และเพลียระหว่างวัน
โรคนอนไม่หลับจากภาวะซึมเศร้ามีลักษณะอย่างไร
อาการนอนไม่หลับเป็นอาการที่สำคัญที่พบได้ในโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ แต่หากบางคนไม่เคยตรวจหาโรคซึมเศร้า หรือไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรคซึมเศร้า ก็อาจจะคิดว่าตัวเองกำลังเป็น โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) แทน อาการนอนไม่หลับจากภาวะซึมเศร้า อาจเกิดได้ในลักษณะดังนี้
- หลับยากเมื่อเริ่มต้นเข้านอน
- เข้านอนเร็วและตื่นเช้ากว่าปกติ
- ตื่นนอนกลางดึกแล้วหลับต่อยาก
- ตื่นนอนเร็วกว่าปกติ
- ตื่นแล้วไม่สดชื่น หลับไม่เต็มอิ่ม
- ง่วงนอนระหว่างวัน
จะเห็นได้ว่าอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแทบไม่แตกต่างอะไรกับอาการของโรคนอนไม่หลับเลย ดังนั้นตัวคุณเอง หรือคนรอบข้างควรสังเกตว่า นอกจากอาการนอนไม่หลับที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีอาการของโรคซึมเศร้า อื่น ๆ ร่วมด้วยหรือเปล่า
ระดับความรุนแรงของการนอนไม่หลับ
การนอนไม่หลับสามารถแบ่งได้ตามระยะเวลาในการเกิดโรคได้ 2 กลุ่ม คือ โรคการนอนไม่หลับจากการปรับตัว (Adjustment insomnia) เป็นการนอนไม่หลับเพราะเกิดจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากปกติ เช่น เปลี่ยนที่นอน เครียดจากการทำงาน ป่วย แต่เมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ อาการนอนไม่หลับก็หายไป อีกหนึ่งกลุ่ม คือ โรคการนอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic insomnia) กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีปัญหาการนอนไม่หลับอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และเป็นต่อเนื่องมาอย่างน้อย 3 เดือน
ระดับเบา ★★☆☆☆
เป็นผู้ที่มักมีความเครียดจากการทํางานและการดำเนินชีวิต ทําให้ไม่สามารถนอนหลับได้สนิท ชอบตื่นกลางดึกบ่อย เริ่มมีอาการอ่อนเพลีย งุนงง และมีความวิตกกังวล
ระดับกลาง★★★☆☆
ส่วนใหญ่มักเกิดจากอาชีพที่มีเวลานอนไม่ปกติหรือมีภาวะความเครียดสูง ซึ่งมักเป็นปัญหาเรื้อรัง ส่งผลเสียกับการใช้ชีวิตและการทำงาน โดยสังเกตจากการตื่นนอนแล้วงัวเงีย เนื่องจากคุณภาพการนอนต่ำ การนอนหลับยากในเวลาที่ต้องการนอน รู้สึกพักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย รู้สึกใช้ความคิดได้ช้าลง มีอาการเบลอบ่อย ๆ
ระดับรุนแรง ★★★★★
ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับขั้นรุนแรง คือ นอนหลับยาก หลับไม่สนิท หลับยาก ตื่นยาก และเป็นติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งคุณอาจมีโรคประจำตัว หรือได้รับผลข้างเคียงจากยารักษาโรคประจำตัวบางชนิด
ข้อควรระวังในการใช้ยานอนหลับ
ยานอนหลับไม่ได้เหมาะที่จะใช้กับคนทุกคน เนื่องจากยานอนหลับเป็นยาที่ต้องจ่ายให้โดยแพทย์ และใช้ตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น หากใช้ไม่ถูกวิธี มีการใช้มากเกินขนาดก็อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้
- ไม่ควรใช้ยานอนหลับติดต่อกันเป็นเวลานาน และควรได้รับการดูแลจากแพทย์
- ควรระวังการใช่ยานอนหลับในผู้ป่วยโรคตับ และโรคไต
- ควรระวังการใช้ยานอนหลับในผู้หญิงตั้งครรภ์หรือในช่วงให้นมบุตร
- ควรใช้ยานอนหลับควรคู่กับการปรับการนอนให้ดีขึ้นมากกว่าการหวังพึ่งยานอนหลับเพียงอย่างเดียว
แนวทางการแก้อาการนอนไม่หลับก่อนเลือกใช้ยานอนหลับ
ในยานอนหลับส่วนใหญ่มักจะมีสาร เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นสารที่จะเข้ามากระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกง่วง ซึ่งการเติมเมลาโทนินโดยอาศัยผ่านทางยานอนหลับเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่เพียงปลายเหตุ ร่างกายไม่ได้หลั่งสารเมลาโทนินออกมาก แค่ถูกเติมเข้าไป หากทานยานอนหลับเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดการติดยานอนหลับ และเกิดการสะสมในร่างกาย สุดท้ายก็อาจจะดื้อยานอนหลับ วันไหนที่ไม่ได้ทานไม่มีโอกาสที่จะหลับได้เอง
หากคุณกำลังมีปัญหานอนไม่หลับ อยากให้เริ่มจากการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ยาก่อน ลองด้วยวิธีเหล่านี้ก็ได้
- จัดการสิ่งแวดล้อมที่กระทบการนอนของคุณก่อน เช่น จัดห้องนอน เปลี่ยนเครื่องนอนใหม่
- ทำกิจกรรมผ่อนคลายก่อนนอน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเครียดก่อนนอน
- ฝึกการเข้านอน – ตื่นนอนให้เป็นเวลา
- เลือกทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยรับสมดุลการนอน เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากคาโมมายล์
- สังเกตการนอนของตัวเองเป็นประจำ หากมีอาการนอนไม่หลับ อย่าปล่อยให้เป็นปัญหาเรื้อรัง
- หาสิ่งที่ช่วยผ่อนคลายก่อนนอน เช่น น้ำมันหอมระเหย ฟังเพลงก่อนนอน เป็นต้น
เช็คตัวเองว่าเป็น “โรคซึมเศร้า” หรือ “โรคนอนไม่หลับ” ได้ที่นี่
การนอนไม่หลับในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง และยังทำให้อาการของโรคซึมเศร้ารุนแรงขึ้นด้วย หากคุณไม่มั่นใจว่าตอนนี้อาหารนอนไม่หลับของคุณอยู่ในระดับไหน และต้องแก้อย่างไรดี สามารถทำแบบทดสอบได้ที่ช่องทางด้านล่างได้เลย
สรุป
อาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นค่อนข้างอันตราย และเป็นปัญหาที่ต้องควรได้รับกษรรักษาอย่างเร่งด่วน หากคุณหรือคนรอบข้างของคุณกำลังเริ่มมีปัญหา นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หลับไม่เต็มอิ่ม หรือจื่นเช้ามารู้สึกว่ามีอาการเพลีย ควรรีบปรึกษาแพทย์และหาแนวทางแก้ไขโดยด่วน