ยานอนหลับ

ทำไมคนเราต้องโหยหา “ยานอนหลับ”

ใครที่เคยนอนไม่หลับจะรู้ดีว่า มันทรมานมาก ยิ่งต้องทำงานหนักแล้วมีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับร่วมด้วย ส่งผลต่อร่างกาย และอันตรายถึงชีวิตได้เลย หลายคนเมื่อมีอาการนอนไม่หลับ จึงมักจะนึกถึง ยานอนหลับเป็นอันดับแรก
แต่รู้ไหม การใช้ยานอนหลับเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น!!!

อาการนอนไม่หลับ (Insomnia)

เป็นปัญหาที่สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่า ปัญหาการนอนไม่หลับสามารถเกิดได้ร้อยละ 30-35 ของผู้ใหญ่วัยกลางคน แต่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยด้านจิตใจ เช่น เป็นโรคซึมเศร้า เคยประสบอุบัติเหตุหนัก

หากปล่อยให้ตัวเองมีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง และยังมี อันตรายจากการนอนไม่หลับ มากกว่าที่คิด การใช้ยานอนหลับจึงได้รับความนิยมมากในกลุ่มคนเหล่านี้

การนอนไม่หลับนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

  1. เข้านอนแล้วหลับได้ยาก หรือก็คือ เข้านอนแล้วแต่ใช้เเวลา 45 – 60 นาทีแล้ว ก็ยังไม่สามารถหลับได้ จะถือว่าเป็นคนที่นอนหลับยาก
  2. เมื่อตื่นหลังจากหลับไปแล้ว จะนอนต่อไม่ได้ หรือใช้เวลานานในการกลับไปนอนหลับได้อีกครั้ง ทำให้พักผ่อนได้ไม่เพียงพอ
  3. หลับแล้วตื่นบ่อย มากกว่า 5 ครั้งต่อคืน ลักษณะการนอนแบบนี้จะทำให้การนอนหลับสนิทหรือหลับลึกได้น้อย  ไม่เพียงพอต่อการพักผ่อน
ยานอนหลับ

ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับนั้นมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ทั้งปัญหาความเครียดจากเรื่องต่าง ๆ ปัญหาการทำงานหนัก หรือการทำงานเป็นกะ, ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม เช่น มีแสงหรือเสียงรบกวนการนอน เป็นต้น

นอกจากนี้ปัญหาด้านสุขภาพหรือการใช้ยาบางอย่างก็ส่งผลทำให้เกิดการนอนไม่หลับได้ ยกตัวอย่างเช่น ภาวะขาอยู่ไม่สุข ( Restless Legs Syndrome), โรคกรดไหลย้อน, ภาวะกังวลว่าจะนอนไม่หลับ (Psychophysiological Insomnia), การใช้ยากลุ่ม Psudoepheridrine และ Methylphenidate เป็นต้น

ยานอนหลับแต่ละประเภท ถูกใช้กับใคร?

ยานอนหลับ เป็นยาอันตรายที่ต้องถูกสั่งจ่ายโดยแพทย์ ที่ต้องเลือกยานอนหลับให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล และความเหมาะสมของโรค เพื่อกำหนดปริมาณ และชนิดของยาให้ปลอดภัยกับผู้ป่วยมากที่สุด

ประเภทของยานอนหลับ

ยานอนหลับแบบไหนดี

ยานอนหลับที่ช่วยต้านภาวะซึมเศร้า 

เป็นยาที่ใช้ในผู้ป่วยที่ป่วยมีภาวะผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไพโบลาร์ ซึ่งออกฤทธิ์ปรับระดับสารเคมีในสมองด้วย

ตัวอย่างเช่น

  • Trazodone เป็นยาที่ช่วยกระตุ้นเซราโทนิน ฮอร์โมนแห่งความสุข ที่มีผลกับการนอน และอารมณ์
  • Mirtazapine เป็นยาสำหรับปรับเคมีในสมอง และสมดุลทางอารมณ์ (มีผลข้างเคียงสูง)
  • Amitriptyline เป็นยาที่รักษาอาการปวดจากปลายประสาท ทำให้อารมณ์สงบ

ยานอนหลับที่ออกฤทธิ์ระงับประสาท

เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ทำให้สมองคิดช้า รู้สึกมึนเบลอ อารมณ์สงบนิ่ง จนรู้สึกอยากหลับ เป็นกลุ่มยาที่มักใช้ในผู้ป่วยจิตเวชที่มีความผิดปกติทางอารมณ์รุนแรง  ซึ่งเป็นยาอันตราย ใกล้เคียงกับยาสลบ เสี่ยงก่อให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับสูง 

ตัวอย่างเช่น

  • Zolpidem เป็นยากล่อมประสาท ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ผลข้างเคียงสูง
  • Suvorexant เป็นยาตัวแรกในกลุ่ม orexin ที่ควบคุมการตื่นและการนอนโดยตรง ออกฤทธิ์ค่อนข้างแรง

ยานอนหลับที่ทำให้หลับลึก

เป็นกลุ่มยาที่ทำให้ร่างกายสามารถหลับได้นานที่สุด ด้วยการออกฤทธิ์แบบกล่อมประสาท ซึ่งอาจกระทบต่อการหายใจขณะหลับ และทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ขณะหลับ และขาดความทรงจำขณะหลับ ซึ่งยาจะออกฤทธิ์จนกว่าร่างกายจะขับออกได้หมด ทำให้เกิดอาการเบลอ มึน หลังตื่น 

ตัวอย่างเช่น

  • Temazepam เป็นยากล่อมประสาท ที่ทำให้หลับลึก ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะ “เสียความทรงจำขณะหลับสูง”
  • Eszopiclone เป็นยาที่ช่วยทำให้อารมณ์สงบ มักใช้ในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ
  • Triazolam เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อ GABA ซึ่งมีผลต่อการนอน เป็นยาที่ค่อย ๆ ออกฤทธิ์ ทำงานต่อระบบประสาท
  • Dormicum เป็นยานอนหลับที่คนส่วนมากรู้จัก ทำให้หลับลึก เป็นยาอันตรายต้องถูกสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

ยานอนหลับที่ทำให้มึนเบลอ

เป็นกลุ่มยาที่ค่อย ๆ ออกฤทธิ์ โดยจะทำให้สมองรู้สึกมึน เบลอ จะรู้สึกอยากนอน ซึ่งอาจก่อผลไม่พึงประสงค์เบากว่ายานอนหลับกลุ่มอื่น แต่ออกฤทธิ์นาน แม้ตื่นแล้วผลของยาอาจยังอยู่ ไม่เหมาะแก่การใช้หากต้องเดินทางไกล หรือต้องทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิสูง 

ตัวอย่างเช่น

  • Eszopiclone เป็นยาที่ช่วยทำให้อารมณ์สงบ มักใช้ในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ
  • Ramelteon เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า จะทำให้ร่างกายค่อย ๆ มึนเบลอ จนเผลอหลับไป 

ยานอนหลับที่เสี่ยงต่อการเสพติดสูง

เป็นกลุ่มยาที่ต้องวางแผนการใช้โดยแพทย์อย่างรอบคอบ เพราะมีผลข้างเคียงสูง และเสี่ยงต่อการเสพติด หากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม อาจทำลายระบบประสาทส่วนกลาง และสมอง เสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิตเวช  เป็นกลุ่มยาที่ห้ามหามาใช้เองโดยเด็ดขาด

ตัวอย่างเช่น

  • Zaleplon เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ผลตกค้างจากยาต่ำ แต่ไม่ควรใช้ต่อเนื่อง
  • Zolpidem เป็นยากล่อมประสาท ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ผลข้างเคียงสูง
  • Suvorexant เป็นยาตัวแรกในกลุ่ม orexin ที่ควบคุมการตื่นและการนอนโดยตรง ออกฤทธิ์ค่อนข้างแรง
  • Triazolam เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อ GABA ซึ่งมีผลต่อการนอน เป็นยาที่ค่อย ๆ ออกฤทธิ์ ทำงานต่อระบบประสาท

อันตรายที่ไม่คาดคิดเมื่อเสพติด “ยานอนหลับ”

ยานอนหลับเมื่อใช้ไปนาน ๆ แล้วก็จะเกิดการดื้อยาจนต้องเพิ่มขนาดยาให้มากขึ้นเรื่อย ๆ หรือหนักกว่านั้น อาจทำให้ร่างกายคุณ เสพติดยานอนหลับ คืนไหนที่ไม่ได้ใช้ก็จะนอนหลับไม่ได้นั่นเอง

โดยส่วนใหญ่แล้วคนที่ทานยานอนหลับตามคำแนะนำของแพทย์มักไม่ค่อยมีอันตรายต่อร่างกาย เพราะแพทย์จะช่วยควบคุมชนิดและปริมาณของยาตามอาการของเรา และคอยให้คำแนะนำเพื่อให้เรากลับไปนอนหลับเองได้ตามปกติ แต่ปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่ที่คนที่ละเลยคำสั่งของแพทย์ ทานยานอนหลับตามใจตัวเอง

ยานอนหลับจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบประสาท ทำให้ร่างกายจดจำว่าต้องหลับเมื่อมีสารไปกระตุ้นเท่านั้น ซึ่งร่างกายจะจดจำกระบวนการนี้อย่างต่อเนื่อง เมื่อใดก็ตามที่คุณอยากจะกลับมานอนหลับแบบปกติ ร่างกายก็จะไม่ตอบสนอง ไม่ปล่อยสารแห่งความง่วงออกมา ทำให้ไม่ง่วงนอนอีกเลย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก ๆ 

ยานอนหลับ ผลข้างเคียง

การทานยานอนหลับติดต่อกันเป็นเวลานาน ยังมีผลข้างเคียงทำให้เสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นโรคที่ยากต่อการรักษาให้กลับมากเป็นปกติดังเดิม  

ดังนั้น ยานอนหลับ จึงเป็นยาที่ควรจัดให้โดยแพทย์ โดยพิจารณาจากสาเหตุและความรุนแรงของการนอนไม่หลับ ผู้ป่วยเองต้องรู้จักฝึกการนอนหลับด้วยตัวเอง ไม่ควรพึ่งยานอนหลับมาเกินไป และควรใช้ยานอนหลับตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด 

หรือหากรู้สึกว่าต้องทานจริง ๆ ไม่งั้นนอนไม่หลับ อาจจะเปลี่ยนมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สกัดจากธรรมชาติที่มีส่วนช่วยเรื่องของการนอนหลับแทนการใช้ยานอนหลับที่มีฤทธิ์รุนแรงแทนก็ได้ และถ้าอยากปรับการนอนหลับแบบไม่ต้องพึ่งยา ลองดูวิธีที่เรานำมาฝากคุณต่อด้านล่างได้เลย

“ยานอนหลับ” ควรใช้ตอนไหน

การรักษาอาการนอนไม่หลับโดยการใช้ยานอนหลับ อาจไม่ใช่เรื่องผิดซะทีเดียว แต่เราต้องรู้ก่อนว่าการนอนไม่หลับขั้นไหนถึงควรใช้ยานอนหลับ บางคนเดินเข้าร้านขายยา ไปถามกับเภสัชกรว่า มียานอนหลับขายไหม ? อยากได้ยานอนหลับ ขอซื้อหน่อย เภสัชกรมักจะไม่ขายให้ อย่าไปว่าเขานะ เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว

ตามปกติแล้วยานอนหลับไม่ได้หาซื้อได้ง่าย ๆ ตามร้านขายยาทั่วไป จะต้องถูกจ่ายยาโดยแพทย์ เพื่อให้ตัวยาที่จ่ายมานั้นเหมาะสมกับแต่ละบุคคล 

และหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ยานอนหลับเป็นยาควบคุมพิเศษ จัดว่าเป็น วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2ที่ถูกควบคุมการนำเข้าและการจำหน่ายโดยกองควบคุมวัตถุเสพติด โดยห้ามจำหน่ายในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันโดยเด็ดขาด

หากต้องการยานอนหลับควรจะต้องไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคนอนไม่หลับของเราว่าอยู่ในระดับไหน และจะได้ทำการรักษาและจ่ายยาได้ถูก

“ยานอนหลับ” ไม่ได้หมายถึงยาชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มยาหลากหลายชนิดที่ส่งผลโดยตรงหรือมีผลข้างเคียง ทำให้เกิดการง่วงหรือทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น ซึ่งยาแต่ละชนิดก็จะมีหลากหลายประเภทและมีกลไกการทำงานที่แตกต่างกันออกไป

ทำอย่างไรดี หากคืนนี้จำเป็นต้องพึ่ง “ยานอนหลับ”

หากคุณเป็นคนที่ต้องพึ่งยานอนหลับตามคำแนะนำของแพทย์ ขอแนะนำให้คุณใช้ยานอนหลับร่วมกับการปฏิบัติตัวตามสุขอนามัยการนอนที่ดี เช่น

  • ควรเข้านอนให้ตรงเวลา เพื่อให้มีเวลาพักผ่อนเพียงต่อเป็นจำนวน 6-8 ชั่วโมง
  • จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนอนหลับที่ดี เช่น ไม่มีแสงหรือเสียงรบกวน ห้องนอนมีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการนอน
  • ควรจัดที่นอนและที่หมอนให้ได้มาตรฐาน ไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน หรือดื่มร่วมกับยานอนหลับ
  • หาวิธีผ่อนคลายความเครียดก่อนนอน

แนะนำให้คุณปฏิบัติตามนี้ไปเรื่อย ๆ ร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัวให้คุ้นชินกับการนอน และหลังจากนั้นคุณก็ค่อย ๆ ลดการทานยานอนหลับลง

ยานอนหลับ,ยานอนหลับแบบไหนดี,กินยานอนหลับ,ยานอนหลับ ผลข้างเคียง,ยานอนหลับธรรมชาติ,ยานอนหลับลึก,ยานอนหลับออกฤทธิ์เร็ว
dee nize2
cta deenize1
cta deenize2

เคล็ด (ไม่) ลับ นอนหลับสนิทแบบไม่พึ่ง “ยานอนหลับ”

การแก้ไขปัญหานอนไม่หลับ ไม่จำเป็นต้องพึ่งยานอนหลับเสมอไป เพียงแค่คุณหาสาเหตุของการนอนไม่หลับให้เจอ แล้วแก้ไขให้ตรงสาเหตุ ก็ช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับได้ หากคุณไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เรามีคำแนะนำดี ๆ ในการสร้างสภาพวะการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพโดยไม่พึ่งยานอนหลับมาให้คุณได้ลองปฏิบัติตาม วิธีมีดังนี้

ยานอนหลับ,ยานอนหลับแบบไหนดี,กินยานอนหลับ,ยานอนหลับ ผลข้างเคียง,ยานอนหลับธรรมชาติ,ยานอนหลับลึก,ยานอนหลับออกฤทธิ์เร็ว
  1. สร้างพฤติกรรมการนอนที่ดี คือ ไม่นอนดึก ไม่อดนอนติดต่อกันบ่อยๆ เพราะจะทำให้คุณหลับยากมากขึ้น
  2. ควรจัดเวลานอนและเวลาตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อให้ร่างกายและสมองจดจำการนอน
  3. หากิจกรรมพิเศษทำก่อนนอน เช่น การนั่งสมาธิ หรือการฝึกการหายใจแบบ Box Breating ที่จะช่วยให้คุณคลายกังวล ทำให้นอนหลับสนิทได้ง่ายขึ้น
  4. จัดสรรสภาพแวดล้อมการนอนโดยรวมทั้งหมดให้น่านอน ไม่ควรใช้ห้องนอนเพื่อทำกิจกรรมอื่นนอกจากการนอน เพราะจะทำให้คุณรู้สึกเบื่อห้องนอน และเมื่อถึงเวลานอนคุณก็จะไม่อยากนอนเอาได้
  5. ควบคุมเรื่องอาหารการกินก่อนนอน งดเว้นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และไม่ควรทานมื้อเย็นที่เป็นมื้อใหญ่มากเกินไป เพราะอาจเกิดกรดไหลย้อน ทำให้นอนไม่หลับได้ 

ยังมีอีกหลายวิธีที่ทำให้คุณสามารถนอนหลับได้โดนไม่พึ่งยานอนหลับ อ่านเพิ่มเติมที่ 10 สาเหตุนอนไม่หลับและวิธีรักษา ปี 2022

ยานอนหลับ,ยานอนหลับแบบไหนดี,กินยานอนหลับ,ยานอนหลับ ผลข้างเคียง,ยานอนหลับธรรมชาติ,ยานอนหลับลึก,ยานอนหลับออกฤทธิ์เร็ว

หรือใช้ Dee-Nize ดีกว่ายานอนหลับ
กลับมานอนได้เอง สุขภาพดีขึ้น บอกลาความเบลอหลังตื่น เริ่มวันใหม่ด้วยความสดใส 

ยานอนหลับ,ยานอนหลับแบบไหนดี,กินยานอนหลับ,ยานอนหลับ ผลข้างเคียง,ยานอนหลับธรรมชาติ,ยานอนหลับลึก,ยานอนหลับออกฤทธิ์เร็ว
cta deenize1
cta deenize2

สรุป

ยานอนหลับเป็นทางออกของคนที่มีปัญหานอนไม่หลับ แต่ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานี้ เนื่องด้วยการทานติดต่อกันเป็นเวลานอนจะส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้มากกว่าที่คิด การใช้ยานอนหลับที่ถูกวิธีควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ยังมีอีกหลายวิธีที่ช่วยให้คุณนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดตามสาระดี ๆ เกี่ยวกับสุขภาพและการนอนได้ที่เว็บไซต์

ยานอนหลับ,ยานอนหลับแบบไหนดี,กินยานอนหลับ,ยานอนหลับ ผลข้างเคียง,ยานอนหลับธรรมชาติ,ยานอนหลับลึก,ยานอนหลับออกฤทธิ์เร็ว
cta deenize1
cta deenize2

แหล่งที่มา

ยานอนหลับ,ยานอนหลับแบบไหนดี,กินยานอนหลับ,ยานอนหลับ ผลข้างเคียง,ยานอนหลับธรรมชาติ,ยานอนหลับลึก,ยานอนหลับออกฤทธิ์เร็ว