ผู้สูงอายุ

ช่วงเวลาที่เราหลับ คือ ช่วงเวลาที่ร่างกายจะได้ซ่อมแซมตัวเอง เข้าสู่โหมดพักผ่อน ให้กล้ามเนื้อและสมองได้พัก เพื่อเติมพลังไว้ใช้ชีวิตในตอนเช้าอย่างเต็มที่ หากมีปัญหาการนอน คงใช้ชีวิตได้ไม่เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น

ใน “ผู้สูงอายุ” การพักผ่อนที่เพียงพอเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเป็นช่วงวัยที่ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้น้อยลง อวัยวะเริ่มไม่แข็งแรงเหมือนวัยหนุ่มสาว หากมีปัญหาการนอนจะส่งผลเสียที่รุนแรง และอันตรายกว่าคนในช่วงวัยอื่นหลายเท่า

รู้ได้อย่างไร ว่าผู้สูงอายุมีปัญหาการนอน

3 how do you know that the elderly have sleep problems

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการนอน มักไม่ค่อยบอกลูกหลาน เพราะส่วนมากผู้สูงวัยเองก็ไม่รู้ตัวว่ามีปัญหานี้อยู่ ลูกหลานอย่างเราจึงต้องสังเกตด้วยตัวเอง ด้วย 5 ข้อต่อไปนี้

ผู้สูงอายุ,ผู้สูงอายุ นอนไม่หลับ,ผู้ สูงอายุ นอน ไม่ หลับ ทํา ไง ดี
  • หลับระหว่างวัน หากผู้สูงอายุของท่าน หลับตอนกลางวันนานหลายชั่วโมง หรือรุนแรงถึงขั้นที่สามารถหลับระหว่างทำกิจกรรมโปรด เช่น หลับระหว่างดูรายการทีวีรายการโปรด หลับระหว่างอ่านหนังสือ หรือหลับขณะอยู่ในวงสนทนากับเพื่อนฝูง

    นั่นเป็นสัญญาณบอกว่ามีปัญหาการนอน สาเหตุอาจมาจากไม่สามารถหลับได้ในตอนดึก หรือนอนไม่หลับ ช่วงเวลาหลับลึกสั้นกว่าปกติ ทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนเต็มที่ และยังส่งผลเสียให้เกิดพฤติกรรมคุ้นชินที่ไม่ควรในผู้สูงวัย

  • ขี้ลืม มีปัญหาความจำสั้น เพราะสมองเป็นอวัยวะที่ได้รับผลไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ หากนอนไม่พอ อาจทำให้รู้สึกเบลอ มึนหัว เวียนหัว ทำให้เกิดอาการหลงลืมง่าย สมองไม่สามารถจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำได้

    หากผู้สูงอายุในครอบครัวท่าน ขี้หลงขี้ลืม ขั้นที่ลืมแม้กระทั่งเรื่องที่เพิ่งทำไป เช่น ลืมว่าเมื่อเช้ากินอะไร ลืมว่ากินยาหรือยัง หรือลืมทำกิจกรรมโปรดที่มักทำเป็นประจำทุกวัน นั่นอาจมาจากการนอนน้อย

    อาการหลงลืมบ่อย ๆ ยังบ่งบอกถึงความผิดปกติของเคมีในสมอง มีผลต่อการหลั่งของสารสื่อประสาท ระดับ beta amyloid สูง เป็นสัญญาณของ โรคอัลไซเมอร์ และโรคทางสมองอีกหลายโรค

  • อารมณ์ไม่คงที่ เป็นผลมาจากความผิดปกติทางสมองเช่นกัน พบว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไป มีโอกาสเกิดความผิดปกติทางอารมณ์เพิ่มสูงขึ้น เพราะสมองเป็นอวัยวะที่ควบคุมการหลั่งขอฮอร์โมนอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะ สุข เศร้า โดดเดี่ยว หรือสดชื่น ก็มาจากฮอร์โมนในสมองทั้งสิ้น

    หากผู้สูงวัยอารมณ์แปรปรวน โกรธง่าย ขี้บ่น เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจ ลูกหลานอย่างเราต้องใจเย็นและสังเกต เพราะนั่นอาจมีต้นเหตุมาจาก การนอนที่ไม่เพียงพอ

  • ดูเบื่อหน่าย กับกิจกรรมที่เคยชอบทำ ไม่มีแรงในการทำกิจกรรมตอนกลางวัน เพราะช่วงหลับลึกที่ร่างกายหลั่ง โกร์ทฮอร์โมน ที่เป็นฮอร์โมนที่ช่วยซ่อมแซมร่างกาย หลั่งได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ร่างกายพักผ่อนได้น้อย มีเรี่ยวแรงไว้ใช้ชีวิตตอนตื่นน้อยลง

    การนอนน้อยทำให้ร่างกายเรี่ยวแรงของผู้สูงวัยน้อยลง จนไม่อยากอะไร รู้สึกเหนื่อยหน่าย เบื่อ เหนื่อย ทำกิจกรรมได้ไม่เต็มที่ เลยไม่อยากทำ ไม่ต่างจากโทรศัพท์ที่ชาร์จแบตได้ไม่เคยเต็ม เพราะนอนไม่พอ ต้องเปิดโหมดประหยัดพลังงานทั้งวัน

    หากผู้สูงอายุในบ้านของท่านดูไม่อยากทำอะไร ถึงแม้จะเป็นกิจกรรมที่เคยชอบทำก็ตาม อาจมาจากสาเหตุการนอนที่เป็นปัญหา เป็นอีกข้อที่เราต้องสังเกตและใส่ใจก่อนชีวิตของคนที่เรารักจะไร้ชีวิตชีวาไปมากกว่าเดิม

  • นอนละเมอ หรือฝันร้าย อาจเป็นเรื่องปกติหากเกิดขึ้นในวัยหนุ่มสาว แต่อาจเป็นอันตรายในผู้สูงอายุ การหลับฝันหรือช่วงละเมอ เป็นช่วงที่ร่างกายหลับลึก (REM Sleep) แต่ไม่ใช่ช่วงการหลับลึกที่มีคุณภาพที่สุด ในทางการแพทย์เรียกว่า REM Sleep Behavior Disorder 
ผู้สูงอายุ,ผู้สูงอายุ นอนไม่หลับ,ผู้ สูงอายุ นอน ไม่ หลับ ทํา ไง ดี

REM Sleep Behavior Disorder คือการที่ร่างกายเกิดความผิดปกติขณะหลับลึก หากเกิดในวัยรุ่นหรือวัยทำงาน อาจมาจากกรรมพันธุ์หรือการใช้ร่างกายในตอนกลางวันที่หนักหน่วงกว่าวันปกติ แต่ถ้าเพิ่งเกิดตอนอายุเริ่มเยอะ ร่างกายอาจกำลังบ่งบอกว่า เรานอนหลับได้ไม่สนิทเต็มที่ หรืออาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายอื่น ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน หรือโรคทางสมองอื่น ๆ

หากผู้สูงวัยมีปัญหานอนละเมอ หรือฝันร้ายอยู่บ่อยครั้ง อาจทำลายวงจรการนอนในช่วงที่มีค่าที่สุด คือทำลายการหลับลึก ที่ฮอร์โมนแห่งการซ่อมแซมอย่าง Growth Hormone ออกมาทำหน้าที่ซ่อมแซม ไม่ได้ทำงานอย่างเต็มที่ เป็นหลับสนิทที่ไม่สนิท

dee nize2
cta deenize1
cta deenize2

สาเหตุของปัญหาการนอน

ผู้สูงอายุ,ผู้สูงอายุ นอนไม่หลับ,ผู้ สูงอายุ นอน ไม่ หลับ ทํา ไง ดี
  • ความเครียด เมื่อสมองมีความเครียด วิตกกังวล หรือรู้สึกไม่สบายใจ ระบบประสาทซิมพาเธติก หลั่ง Adrenaline และ Corticosteroid มากขึ้น มีผลให้ร่างกายตื่นตัว อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตสูงขึ้น รวมไปถึงกล้ามเนื้อเกิดความตึงตัว ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่พร้อมนอน ทำให้กระสับกระส่ายนอนไม่หลับ

    ในผู้สูงอายุบางรายมีโรคที่เกิดจากความเครียด หรือความผิดปกติของสมอง เช่น โรคแพนิก โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคซึมเศร้า ซึ่งจะรบกวนการหลั่ง Monafreanaline Oxidase ให้สูง ไปทำลาย Serotonin ที่เป็นตัวการสำคัญในการนอนของร่างกาย 

  • ผลจากอายุ เมื่ออายุมากอวัยวะเริ่มทำงานได้น้อยลง ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการนอนในผู้สูงอายุคือ การเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลาง จากเลือดที่ไปเลี้ยงสมองได้นอนลง ทำให้จำนวนเซลล์ประสาทค่อย ๆ ลดลงเช่นกัน 

    การรับส่งของกระแสประสาทที่น้อยลง ทำให้การหลั่งของฮอร์โมนต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปด้วย อารมณ์แปรปรวนง่ายกว่าวัยหนุ่มสาว ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยให้หลับอย่าง Serotonin กับ Melatonin ได้น้อยลง ซึ่งรบกวนกับการนอนโดยตรง

  • โรคประจำตัว โรคประจำตัวบางโรคมีผลต่อการนอน เช่นโรคเบาหวาน ที่ร่างกายหลั่งอินซูลินได้ผิดเพี้ยนไปจากปกติ อาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด กระทบไปถึงการทำงานของไต นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเป็นเบาหวานปวดฉี่บ่อย ทำให้ต้องตื่นมาฉี่บ่อย ร่างกายพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ซ้ำเติมโรคให้หนักกว่าเดิม

  • สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม อากาศร้อนเกินไป หนาวเกินไป เสียงดังเกินไป ห้องสว่างเกินไป เตียงนุ่มหรือแข็งเกินไป เสียงดังเกินไป ทั้งหมดนี้ ล้วนมีผลกับการนอนทั้งสิ้น ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่ต้องให้ความสำคัญกับการจัดสภาพแวดล้อมการนอนให้ดีเป็นพิเศษ เพราะการนอนที่ดีมีผลต่อร่างกาย เช่นทำให้ปวดเมื่อยตาม

  • อาหาร การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด มักรบกวนกรดในลำไส้ ทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง และอาหารที่มีน้ำตาลสูงทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว และจากงานวิจัยพบว่า หากทานน้ำตาลในมื้อเย็นหรือก่อนนอนเป็นประจำ จะเพิ่มโอกาสเสพติดน้ำตาล เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน

รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีผลต่อร่างกาย เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง มีผลกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว กาแฟ ชา โคล่า มีคาเฟอีนที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว รวมไปถึงเครื่องดื่มกลุ่มแอลกอฮอล์ ทั้งหมดนี้สามารถรบกวนการนอนได้ทั้งสิ้น และเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับที่คนส่วนมากมองข้าม

51

นอนไม่หลับอันตรายแค่ไหนในผู้สูงวัย

นอนไม่หลับผู้สูงอายุ
  • ร่างกายเสื่อม ในช่วงที่ร่างกายหลับ เป็นช่วงที่ร่างกายได้ซ่อมแซมตนเอง ด้วยฮอร์โมนพระเอกในเรื่องนี้คือ Growth Hormone ที่จะหลั่งต่อเมื่อร่างกายอยู่ในช่วงหลับสนิทเท่านั้น

    ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการนอน มักมีช่วงหลับสนิทที่สั้น ทำให้โกร์ทฮอร์โมนหลั่งได้น้อย ซ้ำเติมกับร่างกายของผู้สูงวัยที่เสื่อมตามอายุ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการนอนจะดูแก่กว่าปกติ หากเทียบกับผู้สูงอายุวัยเดียวกันที่นอนพอ

    ปัญหาที่เห็นได้ด้วยตา คือ หนังเหี่ยวย่น หน้าหมองคล้ำ แววตาไม่สดใส อ้วนง่าย ผมงอกเยอะ ในผู้สูงอายุที่ผอม จะเห็นโหนกแก้มที่หน้าชัดกว่าปกติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจมาจากสาเหตุอื่น เช่น อาหารการกิน การออกกำลังกาย แต่ส่วนหนึ่งที่สำคัญจาก ปัญหาการนอน

  • สมองเสื่อม การนอนที่ไม่มีคุณภาพ สร้างผลกระทบต่อสมองมากที่สุดในบรรดาอวัยวะร่างกาย โรคที่มาจากความผิดปกติทางสมอง ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการนอน เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคลมชัก โรคซึมเศร้า โรคไพโบล่า

    อาการขี้หลงขี้ลืม อาจยังไม่นับว่าเป็นโรค แต่สาเหตุก็มาจากความผิดปกติในสมองเช่นกัน เพราะเซลล์สื่อประสาทในสมอง ในสมองส่วนหน้า ไฮโพทาลามัส ที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่นการหายใจ การนอนหลับ ทำงานได้น้อยลง ในสมองส่วนหลัง เซรีบรัม ที่ทำหน้าที่เรื่องความจำ และการคิด ทำงานได้น้อยลง
  • อารมณ์แปรปรวน ยังเป็นผลมาจากสมองที่ทำงานได้ผิดเพี้ยน ส่วนที่มีผลต่ออารมณ์มากที่สุด คือ สมองส่วน ไฮโพทาลามัส ที่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนบางตัว ส่งผลต่ออารมณ์และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ

    ความอันตรายของอารมณ์ที่แปรปรวนในผู้สูงอายุ คือ ปัญหาการเข้าสังคม การแสดงออกต่อคนในครอบครัวที่ไม่ดี ทำให้คนรอบข้างรู้สึกแย่ รวมถึงตัวผู้สูงอายุเองด้วย ลูกหลานอาจเริ่มหนีห่าง และไม่เป็นที่รักของคนในครบครอบครัว รู้สึกไร้คุณค่าในตัวเอง

    ในผู้สูงอายุมักมีปัญหาสมองจากอายุขัยที่มากขึ้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การนอนน้อยเป็นการซ้ำเติมปัญหาการเสื่อมนั่นให้รุนแรงขึ้น หากดูแลสุขภาพให้ดี กินอาหารดี นอนได้ดี ตั้งแต่วัยรุ่นจะทำให้ตอนเป็นผู้สูงวัยสมองเริ่มเสื่อมได้ช้าลง รีบแก้ปัญหาการนอนให้ผู้สูงวัยก่อนสายไป

  • อุบัติเหตุ อาจเกิดได้จาก ภาวะ Microsleep หรือที่เราเรียกกันว่า “หลับใน” ต้นเหตุมาจาก สมองส่วน ไฮโพทาลามัส ที่หยุดทำงานแบบฉับพลัน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากปัญหาการนอนที่ไม่เพียงพอ

    ปัญหาที่เกิดจาก ภาวะหลับใน ในผู้สูงวัยที่พบได้บ่อยคือ การวูบล้มแบบหลับกลางอากาศ ซึ่งอาจอันตรายถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิตได้  เพราะร่างกายจะซ่อมแซมตัวเองได้ช้า หากข้อต่อ กระดูก หรือสมอง ได้รับการกระทบอย่างรุนแรง ก็ยากที่จะรักษาให้กลับมาปกติเหมือนเดิม

    หรืออันตรายกว่านั้นในผู้สูงอายุบางรายที่ยังต้องขับรถแล้วเกิด ภาวะหลับใน ขณะขับขี่ เพราะผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดภาวะหลับในได้มากกว่าช่วยวัยอื่นหลายเท่า
dee nize2
cta deenize1
cta deenize2

วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น

ผู้สูงอายุ,ผู้สูงอายุ นอนไม่หลับ,ผู้ สูงอายุ นอน ไม่ หลับ ทํา ไง ดี
  • ปรับพฤติกรรม หากิจกรรมช่วย พาผู้สูงอายุออกกำลังกายเบา ๆ ในช่วงเย็น เพราะเมื่อขยับร่างกาย จะช่วยปลดปล่อยพลังงานส่วนเกิน ช่วยขจัดความเครียดได้ อ่านหนังสือก่อนนอนกับไฟโทนสีส้ม ทำให้คลื่นสมองสงบ ช่วยให้ร่างกายเปิดโหมดการพักผ่อน

    เข้านอนให้ไวขึ้น และหมั่นทำเป็นประจำจนเกิดเป็นนิสัย เพราะการนอนดึกมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนบางสมอง เวลาที่ควรเข้านอนควรอยู่ในช่วงเวลาไม่เกิน 21.00 น. หากเข้านอนไวเป็นเรื่องยาก ลองปรับเวลามื้อเย็นให้ไวขึ้น อาบน้ำก่อนนอนให้เร็วขึ้น หรือกิจกรรมที่ทำก่อนนอนให้เร็วขึ้น “เพื่อบอกร่างกายว่าได้เวลาเข้านอนแล้ว”

  • ปรับสภาพแวดล้อม ทำให้ห้องนอนน่านอน บรรยากาศที่สงบ เตียงนุ่ม ๆ นมอุ่น ๆ ผสมน้ำผึ้ง ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายพร้อมนอน เปิดเสียงดนตรีบรรเลง หรือเสียงธรรมชาติเบา ๆ สร้างบรรยากาศในการนอนที่ดี อาจสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัวที่สุด ใช้อุปกรณ์ช่วยในการนอน เช่น ผ้าปิดตา หมอนรองคอ สร้างบรรยากาศด้วยกลิ่นที่ชอบ  น้ำมันหอมระเหย เครื่องพ่นอโลมา

    ไม่ทานมื้อเย็นเป็นอาหารที่กระทบกับระบบเผาผลาญ เช่น อาหารรสเผ็ด อาหารประเภทของหวาน ทานอาหารที่ช่วยปรับสมดุลการนอน ย่อยง่าย รสชาติปานกลาง ช่วยให้ร่างกายพักผ่อนได้เต็มที่

  • ทานอาหารเสริม วิตามินช่วยนอนหลับ ที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย กระตุ้นให้ร่างกายสร้างเมลาโทนินด้วยตนเอง ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสมุนไพร เพราะให้ผลข้างเคียงไม่เพิ่งประสงค์น้อยกว่าการใช้จากสารสังเคราะห์

    นอกจากสรรพคุณที่ช่วยเรื่องการนอนแล้ว ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบำรุงสมองด้วย เพราะสมองเป็นอวัยวะที่ควบคุมร่างกาย และการนอน หากสมองมีสมดุลที่ดี จะเป็นผลดีต่อการควบคุมคุณภาพการนอนในระยะยาว

    และที่สำคัญ ❌ห้ามใช้ยานอนหลับ❌ เป็นประจำ หากไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยทางจิตเวชบางโรค เพราะยานอนหลับจำเป็นต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์อย่างใกล้ชิด ภัยของยานอนหลับเป็นภัยที่ส่งผลในระยะยาว หากผู้สูงอายุติดยานอนหลับ อาจซ้ำร้ายปัญหาการนอน และปัญหาสุขภาพให้หนักกว่าเดิม

ลอง Dee-Nize หลับง่าย หลับสนิท บำรุงสมอง 

อาหาร เสริม สําหรับ ผู้ สูงอายุ นอน ไม่ หลับ

ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ ปลอดภัย ใช้ได้ในผู้สูงอายุ

  • คาโมไมล์  ดอกไม้แห่งการนอน ช่วยสร้างความผ่อนคลาย ปรับสมดุลทางอารมณ์ 
  • สารสกัดพรมพิ ยืนยันจากงานวิจัยมากมายทั้งในไทยและต่างประเทศ เป็นสมุนไพรเพื่อสมอง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์สื่อประสาท สมองสุขภาพดี
  • ผงเชอร์รีทาร์ต กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนแห่งนิทรา เมลาโทนิน ด้วยตนเอง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดสภาวะผิดปกติในร่างกาย และสมอง
  • สารสกัดจากสมุนไพรอีกหลายชนิด ที่คัดสรรมาเพื่อแก้ปัญหาการนอนจากหลายสาเหตุ บำรุงสมอง ปรับวงจรการนอน เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี ให้ผู้สูงอายุที่คุณรัก

“ดีไนซ์รวมสมุนไพรแห่งการนอนไว้ในเม็ดเดียว” ง่าย ๆ 1 เม็ดก่อนนอน ไม่ติด ไม่ดื้อ ไม่น็อค ตื่นมาสดชื่น

อ่านข้อมูล Dee-Nize เพิ่มเติมได้ คลิ๊กเลย

cta deenize1
cta deenize2

พบแพทย์ ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย แต่เป็นทางเลือกที่แนะนำที่สุด ในผู้สูงอายุมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคและเจ็บป่วยได้สูงกว่าวัยหนุ่มสาว การพบแพทย์อาจทำให้ได้รู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงว่าปัญหาการนอนมาจากอะไร เพื่อที่จะได้แก้อย่างตรงจุด และถูกวิธี

แต่ ! หากใครที่ยังไม่พร้อมไปพบแพทย์ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ไม่มีเวลาไป การเงินไม่พร้อม ไม่มีลูกหลานพาไป ไม่สะดวกในด้านต่าง ๆ แนะนำให้ลองแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อนตามที่แนะนำไปข้างต้น หากลองทุกวิธีแล้วยังมีปัญหาการนอนอยู่ การไปหาหมอคงเป็นตัวเลือกสุดท้ายที่ดี เพราะเราไม่สามารถวินิจฉัยปัญหาสุขภาพบางโรคได้ด้วยตนเอง

สรุป

ความรุนแรงของปัญหาการนอนในผู้สูงอายุ ส่งผลทั้งในร่างกายและด้านจิตใจ ที่รบกวนการใช้ชีวิตได้มากในทางร่างกาย เรี่ยวแรงในการใช้ชีวิตน้อยลง เพราะร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ผิวพรรณภายนอกดูเหี่ยวย่น และดูแก่กว่าผู้สูงอายุวัยใกล้เคียงกันที่นอนพอ ร่างกายหลั่งโกร์ทฮอร์โมนที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายได้นอน ทำให้ป่วยง่าย หายยาก 

ในด้านจิตใจ การนอนน้อยส่งผลกระทบอย่างหนักต่อสมอง ซึ่งสมองทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนทางอารมณ์ต่าง ๆ ทำให้ความรู้สึกและอารมณ์ผิดเพี้ยนไปจากปกติ โกรธง่าย เศร้านาน ไม่สดใส รู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกไร้คุณค่าในตัวเอง ส่งผลต่อการแสดงออกต่อคนรอบข้าง กระทบการเข้าสังคม ความสัมพันธ์ในครอบครัวแย่ลง

และปัญหาการนอน ยังเสี่ยงให้ผู้สูงวัยเกิดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ที่อาจส่งผลรุนแรงได้ถึงขั้นอัมพาต หรือเสียชีวิต เช่น การวูบล้ม อาการหลับในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุที่เราไม่คาดคิด การนอนให้พอจึงเป็นสิ่งสำคัญ รีบแก้ปัญหาการนอนก่อนสายไป

cta deenize1
cta deenize2
56

ขอบคุณแหล่งข้อมูลดี ๆ