หลายคนมีความสุขกับการนอน ขอแค่ได้นอนก็ถือว่าเป็นเรื่องดี แน่นอนอยู่แล้ว เพราะว่าการนอนนั้นเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดและมีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่ง การนอนหลับอย่างเพียงพอส่งผลดีต่อร่างกายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพและด้านจิตใจ ขอแค่ได้นอนหลับเต็มที่ ตื่นขึ้นมาแล้วสดชื่น กระปรี้กระเป่าในทุกเช้าก็มีความสุขแล้ว
แต่ความลับที่หลายคนยังไม่รู้คือ ความจริงแล้วมนุษย์เรานอนหลับแล้วฝันกันอยู่ทุกคืน และฝันกันทุกคน แต่บางคนอาจจำไม่ได้ว่าตัวเองฝันอะไร เลยคิดว่าคืนนั้นไม่ได้ฝันนั้นเอง
ความฝัน คืออะไร?
ความฝัน เกิดขึ้นในช่วง REM Sleep ที่เปลือกตายังสามารถขยับได้ การแสดงออก และสิ่งที่เราเห็นในฝัน เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า “จิตใต้สำนึก” โดยมีต้นกำเนิดจาก เคมีในสมองที่มาจากความเครียด ความคิด และอารมณ์ ที่เกิดขึ้นขณะหลับ
ในบางครั้ง ความฝันเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องราว จนทำให้เรารู้สึกว่ามันเกิดขึ้นจริง มนุษย์จึงมักโยงความฝันเข้ากับความรู้สึก ก่อให้เกิดความเชื่อเรื่องการทำนายฝัน ว่าเป็นลางบอกเหตุ เป็นสิ่งที่บอกอนาคต ให้โชคลาภ ทำให้มนุษย์ให้ความสำคัญกับความฝันมาตั้งแต่สมัยอดีต ถึงปัจจุบัน
ความฝันในแต่ละช่วงของการนอน
ความฝันเกิดขึ้นได้ในทุกระยะของการนอนหลับ ความฝันที่เกี่ยวกับอดีต และความทรงจำ จะชัดเจนมากในระยะ REM ( Rapid Eye Movement) เป็นช่วงเวลาที่การนอนตื่นตัวมากที่สุด ซึ่งความฝันที่เกิดขึ้นในช่วงนี้
ส่วนในระยะ SW (Slow-Wave) เป็นช่วงเวลาของการหลับลึก การฝันในช่วงนี้จะไม่ปะติดปะต่อและไม่ค่อยมีความหมาย คนส่วนใหญ่ที่เกิดความฝันในช่วงนี้ จึงจำไม่ค่อยได้ว่าตัวเองฝันอะไรไปบ้าง
การนอนหลับแล้วฝันไม่ว่าจะเป็นฝันดีหรือไม่ดี ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี เพราะความฝันเปรียบสเมือนการบำบัดอย่างหนึ่ง ต่อให้เรื่องที่ฝันไม่เคยเกิดขึ้นจริง หรือไม่มีโอกาสเกิดขึ้นจริง แต่ความรู้สึกต่อเหตุการณ์ในฝันนั้นเป็นเรื่องจริง จึงถือได้ว่าความฝันนั้นช่วยเรื่องของการบำบัดอารมณ์และความรู้สึกได้
บางคืนเราสามารถฝันได้ 4-5 เรื่อง เพราะเฉลี่ยแล้วการนอน 6-8 ชั่วโมง เราใช้เวลาในการฝันไปประมาณ 2 ชั่วโมงเลย บางคนอาจเจอฝันร้ายที่ทำให้ตื่นมาพร้อมกับความกลัวที่ตกค้างในใจ แต่สำหรับบางคนก็นอนหลับฝันดีจนไม่อยากตื่น ไม่รู้ว่าเป็นเพราะสารเคมีในสมอง หรือเป็นเพราะมีคนบอกฝันดีก่อนนอนกันแน่
ประโยชน์ของการนอนหลับฝันดี
- นอนหลับฝันดี ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
คนที่ได้รับประสบการณ์การนอนหลับที่ดี แน่นอนว่าตื่นมาก็มักจะมีอารมณ์ดี บางคนฝันดีจนไม่อยากตื่นก็มี ทำให้เรารู้สึกดี และบางครั้งเรื่องที่เราฝันนั้นก็ช่วยเติมเต็มบางอย่างที่เราไม่สามารถหาได้ในชีวิตจริง - ช่วยให้สมองทำงานได้ดี เพิ่มการเรียนรู้
การนอนแล้วฝันช่วยให้สมองได้จัดการกับข้อมูลใหม่ ๆ และนำมาปรับใช้กับชีวิตจริงได้ ยิ่งหากคืนนั้นเรานอนหลับแล้วฝันดี สมองได้รับสารแห่งความสุข เราก็จะคิดถึงเรื่องที่ทำให้เราฝันดี และเรียนรู้ที่จะทำซ้ำเพื่อให้เกิดการนอนหลับฝันดีอีกครั้ง - ช่วยทำให้สุขภาพกายดีขึ้น
ทุกครั้งที่เรานอนหลับฝันดี มักจะตื่นเช้าขึ้นมาด้วยอารมณ์ที่สดใส เป็นการเริ่มต้นชีวิตประจำวันที่ดีอีกแบบหนึ่ง การนอนฝันดีบางครั้งก็ทำให้รู้สึกว่า การนอนก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะนอนแล้วได้ไปเจอเรื่องราวดี ๆ ในความฝัน ความรู้สึกอยากนอนย่อมดีกว่าการไม่อยากนอน เป็นเรื่องที่ดีที่จะทำให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
อยากนอนหลับฝันดี ต้องทำอย่างไร ?
แน่นอนว่าถ้าให้เลือกระหว่าง ฝันดี กับ ฝันร้าย ใคร ๆ ก็อยากนอนหลับฝันดีกันทั้งนั้น บางคนใช้วิธีช่วยให้นอนหลับฝันดีด้วยการฟังเพลงก่อนนอน บางคนก็ใช้วิธีอ่านหนังสือที่ให้อารมณ์เชิงบวก บางคนไม่ได้ทำอะไรเลยก็นอนหลับฝันดีได้ง่าย ๆ สำหรับใครที่มีปัญหานอนไม่หลับ
“การฝัน” นั้น เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนมาก และยังไม่มีใครสามารถกำหนดได้ว่า หากอยากที่จะนอนหลับฝันดี ต้องใช้วิธีแบบไหนกันแน่ แต่เราสามารถออกแบบสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราให้เอี้อต่อการนอนหลับที่มีคุณภาพอันนำไปสู่การนอนหลับฝันดีได้
เคล็ดลับควบคุม “นอนหลับฝันดี” ด้วยตัวเอง
- ทำจิตใจให้สบายไม่พุ่งซ่าน ไม่คิดเรื่องเครียดก่อนนอน
แน่นอนว่าหากคิดแต่เรื่องเครียด ๆ โอกาสของการหลับฝันดีก็มีน้อยลง แต่จะยิ่งทำให้เรา นอนไม่หลับ จนทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา หรือนอนหลับไม่สนิท รู้สึกกระวนกระวายใจ และนำไปสู่การฝันร้ายมาแทนได้ - ออกกำลังกายก่อนนอน แต่อย่าหักโหมเกินไป
ควรออกกำลังกายในระดับเบาไปจนถึงระดับกลางให้เสร็จก่อนเข้านอน 1 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อยนิด ๆ กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกอยากนอนมากขึ้น - งดเล่นมือถือก่อนนอน
อย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้แสงสีฟ้าจากมือถือไปยับยั้งการสร้างสารเมลาโทนิน ฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ และการเล่นมือถือก่อนนอนบ้างครั้งถ้าเราไปเจอคลิปหรือข้อความในเชิงลบก็จะทำให้เรารู้สึกคิดมากก่อนนอนได้อีก - จัดห้องนอนให้น่านอนและรู้สึกผ่อนคลาย
ห้องนอนก็เป็นอีก 1 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการนอนที่มีประสิทธิภาพได้ ห้องนอนที่ดีไม่ควรมีเสียงและแสงรบกวนการนอน อากาศถ่ายเทได้ดี และมีกลิ่นที่ช่วยให้ผ่อนคลายขณะนอนหลับ
วิธีที่กล่าวมาข้างต้นไม่สามารถฟันธงได้ว่าทำตามแล้วจะช่วยให้ฝันดีแน่นอน เพราะความฝันของคนเรามีปัจจัยหลายอย่างมากระตุ้นไม่ว่าจะเป็นความทรงจำ ความเครียด การใช้ชีวิตประจำวัน จินตนาการ และอื่น ๆ แต่วิธีที่กล่าวไปด้านบนเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ของการนอนที่มีประสิทธิภาพในเรื่องของการเตรียมตัวก่อนเข้านอนนั่นเอง อ่าน สุดยอดเคล็ดลับ นอนหลับเร็วภายใน 3 นาที คลิ๊ก
แล้วการนอนฝันร้ายไม่ดีเหรอ ?
แน่นอนอยู่แล้วว่าไม่มีใครชอบที่นอนหลับแล้วฝันร้าย เพราะนอกจากจะทำให้รู้สึกไม่ดีแล้ว ยังทำให้เรารู้สึกไม่อยากที่จะนอนอีกด้วย แต่ถ้าหากเป็นการหลับฝันร้ายในระดับกลาง ๆ ไม่ร้ายแรงมาก ก็มีข้อดีอยู่บ้างเหมือนกัน
เคยมีทีมนักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยเจนีวา, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเจนีวา ในสวิตเซอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ในสหรัฐฯ ชี้ว่า ฝันร้ายระดับกลาง อาจสามารถนำมารักษา โรควิตกกังวล (anxiety disorder) ได้
กล่าวคือ ฝันร้ายในระดับไม่รุนแรงช่วยให้เราได้เตรียมพร้อมรับมือ ระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตจริงได้ ยกตัวอย่างเช่น หากเราฝันว่าจมน้ำ แต่สามารถพาตัวเองขึ้นฝั่งได้ ความฝันนั้นก็เหมือนเป็นการซ้อมความรู้สึกเวลาตกน้ำ และช่วยให้เราได้เตรียมตัว หรือเรียนรู้การว่ายน้ำ เพื่อให้เราสามารถรับมือได้หากเราเกิดอุบัติเหตุตกน้ำเหมือนในความฝันนั่นเอง
ดีไนซ์ ช่วยให้คุณฝันดี
ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ ช่วยคุณหลับสนิทแล้วยัง “ฝันดี” ได้ สารสกัดที่ช่วยปรับสมดุลทางอารมณ์ ช่วยปรับคลื่นสมองให้อยู่ในระดับ Slow Wave ลดความวิตกกังวล ลงโอกาสในการเกิดฝันร้าย ทำให้นอนหลับฝันดี หลับสบายกาย สบายใจ
สรุป
มนุษย์เราไม่ว่าใครก็มีโอกาสนอนหลับฝันดีได้ทั้งนั้น แต่การนอนหลับฝันดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณมีการนอนหลับเกิดขึ้น หากคุณเป็นคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน อดนอนบ่อย ๆ หรือนอนไม่ค่อยหลับย่อมส่งผลกระทบต่อการนอนและสุขภาพในระยะยาวได้ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ถือเป็นโชคดีมากกว่าการนอนหลับฝันดีที่หลายคนเฝ้าฝันถึงอย่างแน่นอน
แหล่งที่มา
- บทความ จิตวิทยาความฝัน โดย Sigmund Freud นักจิตวิทยา
- บทความ ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ โดย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- Podcast ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ หน้าที่ของความฝัน จาก The Standard Podcast
- หนังสือ ความฝันบำบัด โดย Clare Johnson