ปัญหาของคนนอนไม่หลับ
นอนไม่หลับเป็นปัญหากวนใจของใครหลายคน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จากหลายเหตุผลทั้งความเครียด ชีวิตประจำวันที่ต้องเรียนหรือทำงานไม่เป็นเวลา มีปัญหาสุขภาพ อายุที่มากขึ้น สภาพแวดล้อมไม่ดี หรือบางครั้งเราเองก็ไม่รู้ว่าเหตุใดเราจึงนอนไม่หลับ
การนอนที่ดี ที่ไม่ใช่เพียงจำนวนชั่วโมงที่เพียงพอ แต่เป็น “คุณภาพการนอน” การนอนที่ดีต้องนอนให้พอ หลับให้สนิท เพราะช่วงหลับสนิท (RemSleep) เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะซ่อมแซมตัวเอง เราทุกคนรู้อยู่แล้วว่าการนอนสำคัญแค่ไหน
นอนไม่หลับกระทบชีวิต ทั้งร่างกาย และจิตใจ แบบค่อย ๆ รู้สึกได้ว่า “ร่างกายกำลังค่อย ๆ ประท้วงแล้ว” จากการทำงานที่ไม่สามารถโฟกัสกับสิ่งที่ทำ ไม่มีสมาธิเวลาเรียน ร่างกายอ่อนเพลียไม่สดชื่น อารมณ์แปรปรวน หรือแย่กว่านั้นอาจถึงขั้นวูบหลับกลางอากาศได้
คนนอนไม่หลับอย่างเราจึงพยายามหาวิธีที่จะทำให้ตัวเองหลับ เช่น การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต นอนเร็วขึ้น ออกกำลังกายช่วงเย็น กินอาหารให้ดี ปรับบรรยากาศการนอน เป็นวิธีที่ดูเหมือนง่าย แต่ยากมากพอจะทำขึ้นมาจริง ๆ
วิตามินช่วยนอนหลับ คืออะไร ?
การปรับพฤติกรรมมันยากเกินไป เหล่าคนนอนไม่หลับบางคนจึงมีวิธีแก้ปัญหานอนไม่หลับที่นิยมกัน คือการใช้ วิตามินช่วยนอนหลับ เป็นตัวช่วย
วิตามินช่วยนอนหลับ ไม่ใช่ยานอนหลับ
วิตามินช่วยนอนหลับ คืออาหารเสริมที่ช่วยทำให้ หลับง่าย หลับดี หลับสนิทขึ้น โดยส่วนมากออกฤทธิ์ต่างจากยานอนหลับ ซึ่งเป็นยาอันตรายที่ใช้ได้ในผู้มีปัญหาบางกลุ่มเท่านั้น
- ยานอนหลับ การออกฤทธิ์ของยานอนหลับส่วนมากออกฤทธิ์แบบ “กล่อมประสาท” มีผลต่อ สมองและระบบประสาทโดยตรง ทำให้รู้สึกถึงความคิดที่ช้าลง ผ่อนคลายแบบไม่ปกติ บางชนิดทำให้มึนงง ผู้ใช้หลับได้จากฤทธิ์ของยา
ยาถูกใช้ในผู้ป่วยโรคทางจิตเวช เช่น โรคแพนิค โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่า เป็นยาที่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น เพราะผลเสียที่ตามมาของยานอนหลับรุนแรง ส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ
ผลเสียของยานอนหลับ อาจกลับมาหลับเองได้ยากกว่าปกติ ทำให้ต้องใช้ยาตลอด และยังต้องใช้ในปริมาณที่เข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งซ้ำปัญหาการนอนให้รุนแรงกว่าเดิม มีอาการหลังตื่นนอนที่ไม่สดชื่น มึน เบลอ จนกว่าฤทธิ์ของยาจะหมดจากร่างกาย - วิตามินช่วยนอนหลับ มักทำมาจากสารสกัดต่าง ๆ ที่มาจากธรรมชาติ เช่นสมุนไพร ผลไม้ พืชผัก รวมไปถึงฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ถูกสร้างขึ้นมา ซึ่งส่วนมากมีสรรพคุณช่วยให้หลับ
สิ่งที่วิตามินช่วยนอนหลับ ด้อยกว่ายานอนหลับ คือไม่สามารถรับรองได้ว่า หากทานแล้วหลับแน่นอน หากใช้แล้วต้องพยายามที่จะนอนด้วย
แต่สิ่งที่วิตามินช่วยนอนหลับ ดีกว่ายานอนหลับ คือช่วยปรับสมดุลทางอารมณ์ ทำให้สมองผ่อนคลาย ทำให้เราหลับได้ด้วยตัวเอง ซึ่งส่งผลดีในระยะยาวมากกว่า ผลข้างเคียงต่อสุขภาพน้อยกว่า การนอนมีคุณภาพมากกว่าการนอนด้วยยานอนหลับ
วิตามินช่วยนอนหลับ มีอะไรข้างใน
เคยสงสัยไหม? ว่าวิตามินช่วยนอนหลับแต่ละยี่ห้อมีอะไรข้างใน แตกต่างกันอย่างไรบ้าง วันนี้เรานำข้อมูลเกี่ยวกับวิตามินช่วยนอนหลับยอดนิยมมาชำแหละให้ดูว่า ข้างในนั้นมีอะไรที่ช่วยให้เรานอนหลับง่ายขึ้น ไปดูกัน
*ราคาขึ้นอยู่กับผู้จัดจำหน่าย ข้อมูลเป็นเพียงราคาเฉลี่ย
ข้อมูลของสินค้าแต่ละยี่ห้อ
สารสกัดที่นิยมนำมาใช้ มีสรรพคุณแบบไหน ?
- ลดความวิตกกังวล เวลาก่อนนอนเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจำเป็นต้องอยู่ในสภาวะที่พร้อมนอน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
- ทางร่างกาย เราสามารถสร้างความผ่อนคลายได้ด้วยวิธีหลากหลาย เช่น การอาบน้ำอุ่นก่อนนอน การออกกำลังกายในช่วงเย็น การนั่งสมาธิ การนวด ดื่มนมอุ่น ๆ ก่อนนอน การปรับเปลี่ยนบรรยากาศในการนอน จัดที่นอนให้สะอาดน่านอน เปิดแอร์ให้เย็นสบายตัว
- ทางความคิด การสร้างความผ่อนคลายถือได้ว่าเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะถ้าชีวิตประจำวันของเราต้องเจอกับความเครียดจากการเรียน หรือจากงาน ความกดดัน ความวิตกกังวล รวมถึงสภาวะสังคมรอบตัวที่เลวร้าย การบอกกับตัวเองว่า “วันนี้ขอนอนอย่างสบายใจ” ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับบางคน
วิธีที่คนส่วนมากใช้จัดการความคิด เพื่อให้ตัวเองผ่อนคลายก่อนนอน อาจเป็นการฟังเพลงบรรเลงสบาย ๆ การนั่งสมาธิก่อนนอน การฟังคลิปเสียงเรื่องผี หรือเรื่องเล่าต่าง ๆ การนอนคิดถึงตัวเองในอนาคต จินตนาการถึงชีวิตที่ใฝ่ฝันก่อนนอน จนกว่าสิ่งเหล่านั้นจะทำให้เราเผลอหลับไปได้ในแต่ละวัน ซึ่งบางวันใช้เวลานานมากกว่าจะหลับ
การใช้ส่วนผสมในวิตามินช่วยนอนหลับ ที่มี สรรพคุณช่วยสร้างความผ่อนคลาย ถือเป็นตัวช่วยที่ดีในเคลียความคิดที่ยุ่งเหยิงมาทั้งวัน ปรับคลื่นสมองให้เหมาะสมแก่การนอน สารสกัดบางตัวใช้รักษาในผู้ป่วย เช่น ดอกคาโมไมล์, วาเลอเรี่ยน เป็นส่วนผสมหนึ่งในยาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และผู้ป่วย ADHD (โรคสมาธิสั้น)
- บำรุงสมอง ช่วยให้มีสมาธิ เพิ่มความจำ สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้นานขึ้น ซึ่งมีผลกับการนอน เพราะสมองเป็นอวัยวะที่ควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทำของเรา
ส่วนผสมที่พบได้บ่อยในวิตามินช่วยนอนหลับคือ แอลกลูตามีน เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารสื่อประสาท มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างโกร์ทฮอร์โมน ที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายเวลาหลับ เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายต้องการโดยเฉพาะในช่วงวัยเด็ก และวัยชรา เพราะยิ่งอายุมากร่างกายยิ่งสร้างโกร์ทฮอร์โมนได้น้อยลง เราจึงต้องใช้อาหารเสริมเป็นตัวช่วย
ส่วนผสม โคลีน แอล-ไบทาเรต เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท รวมทั้งไลโปโปรตีน และยังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างอะเซททิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ใช้ในการส่งกระแสประสาทของสมอง เหมือนกับ และอะเซติล แอล-คาร์นิทีน
ผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับส่วนมาก พบว่ามีปัญหาทางสมองด้วย เช่น สมาธิสั้น ความจำสั้น อารมณ์แปรปรวนง่าย โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย คิดช้า ไม่มีความคิดสร้างสรรค์เท่าที่เคยมี มีปัญหากับการทำงาน กระทบการเข้าสังคม นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม วิตามินช่วยนอนหลับที่ดีควรมีส่วนผสมที่ช่วยบำรุงสมองด้วย
- ปรับสมดุลทางอารมณ์ อารมณ์ที่ตกค้างมาจากกิจกรรมต่าง ๆ อาจยังคงอยู่ ถึงแม้หัวจะถึงหมอนพร้อมนอนมาก แต่นอนไม่ได้เพราะอารมณ์แปรปรวน
ส่วนผสมที่นิยมใช้อย่าง แอล-ธีอะนีน ช่วยทำให้คลื่นสมองอัลฟาคงที่ เป็นช่วงคลื่นสมองที่บอกสมองว่าพร้อมพักผ่อน พร้อมนอน ปรับอารมณ์ และคลายความกังวล กระตุ้นการสร้าง กาบา ที่ช่วยให้หลับสบาย หรือส่วนผสมอย่าง ทอรีน ช่วยควบคุมน้ำในเซลล์สมอง สร้างสมดุลทางอารมณ์
เราอาจจะยังไม่รู้ว่า “เรามีปัญหานี้อยู่ไหมลองเช็กดู” หากเคยดูซีรีส์เศร้า ๆ ก่อนนอน แล้วนอนไม่หลับเพราะความเศร้ายังอยู่แม้ซีรีส์จบไปแล้ว ความรู้สึกโกรธง่าย หายยาก หรือ ความเครียดจากที่ทำงาน ยังอยู่ในหัวถึงแม้จะเลิกงานแล้ว แต่ความรู้ยังคงอยู่ นั่นหมายถึงสมดุลทางอารมณ์ของเราไม่ปกติ
ในวิตามินช่วยนอนหลับ มักใส่ส่วนผสมที่ช่วยเรื่องปรับสมดุลทางอารมณ์ ควบคู่กับสารสกัดที่ช่วยสร้างความผ่อนคลายให้สมองด้วย เพราะส่งผลต่อ การปรับอารมณ์ก่อนนอนให้เหมาะสมพร้อมนอน ที่สุด
- ต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมสภาพของร่างกาย อนุมูลอิสระ เป็นอนุมูลที่ร่างกายสร้างขึ้นจากการเผาผลาญส่วนเกินของร่างกาย เช่นไขมันที่ไม่อิ่มตัว มลพิษต่าง ๆ ควัน แก๊สพิษ เป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเสื่อม แก่ก่อนวัยอันควร และมีโรคมากมายที่มาจากอนุมูลอิสระ
ปัญหานอนไม่หลับ เกี่ยวข้องกับ อนุมูลอิสระ เกี่ยวข้องกัน เพราะอนุมูลอิสระอาจรบกวนการสร้างเมลาโทนินของร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ หากร่างกายสร้างได้ในปริมาณที่ไม่เพียงพอที่จะทำให้เรารู้สึกง่วง ก็จะทำให้เรานอนไม่หลับ
วิตามินช่วยนอนหลับบางแบรนด์จึงใส่สิ่งที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระลงด้วย เพื่อทำให้เราไม่โดนอนุมูลอิสระรบกวนเวลานอน นอกจากการทานอาหารเสริม เราสามารถหาสารต้านอนุมูลอิสระได้จากพืชผัก หรือสมุนไพรธรรมชาติ เช่น ใบแป๊ะก๊วย พริกไทยดำ ชาเขียว ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ช่วยเราจากอนุมูลอิสระได้
- สร้างเมลาโทนิน ที่เป็นฮอร์โมนแห่งการนอน แท้จริงแล้วร่างกายของเราสามารถสร้างเมลาโทนินได้เอง แต่เมลาโทนินในเวลา หรือในสภาวะที่ร่างกายพร้อมนอนเท่านั้น หากหลั่งออกมาได้ไม่มากพอ เราจะไม่รู้สึกง่วง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงนอนไม่หลับ
มนุษย์แต่ละคนจะมีช่วงเวลาการหลั่งของเมลาโทนินไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับนาฬิกาชีวิต ของแต่ละคนที่มาจากการใช้ชีวิตประจำวัน หากเรามีวิธีการใช้ชีวิตที่ไม่เป็นเวลา เช่น ทำงานเป็นกะ เวลาตื่นไม่แน่นอน เวลานอนไม่แน่นอน อาจส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนเมลาโทนินให้ผิดปกติได้
วิตามินช่วยนอนหลับที่มีเมลาโทนินจึงเป็นทางออกของปัญหานี้ ในปัจจุบันมีการใช้สารสกัดที่ช่วยให้ร่างกายสร้างเมลาโทนินในบางยี่ห้อ หรือบางยี่ห้อใช้เป็นเมลาโทนินสังเคราะห์ โดยรวมออกฤทธิ์เหมือนเมลาโทนินที่ร่างกายสร้างเอง
เมลาโทนิน แม้เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างเองได้ แต่ต้องรู้จักปริมาณในการใช้ผ่านวิตามิน หรืออาหารเสริม เพราะอาจมีผลต่อร่างกายคล้ายยานอนหลับ อาจเกิดอาการเสพติด ดื้อ หรือเลวร้ายที่สุดคือ ร่างกายหลับเองได้ยากขึ้นจนไม่สามารถกลับไปหลับเองได้ จึงต้องใช้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง
- กลุ่มวิตามิน ถือเป็นผลพลอยได้นอกเหนือจากการนอนหลับ และอื่น ๆ วิตามินช่วยนอนบางยี่ห้อได้ใส่ส่วนผสมที่ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นวิตามิน หรือสารอาหารต่าง ๆ ที่มีสรรพคุณนอกเหนือจากเรื่องนอน เช่น บำรุงผิว บำรุงผม ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด
ส่วนผสมที่นิยมใช้ในวิตามินช่วยนอนหลับ
- คาโมไมล์ เป็นดอกไม้สมุนไพร ภายในบรรจุสารสำคัญกว่า 120 ชนิด หนึ่งในนั้นมีสารสำคัญ กลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่สามารถละลายน้ำ ออกฤทธิ์ทำให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย ช่วยในการหลับ โดยมีการนำดอกคาโมไมล์มาชงเป็นชาเพื่อดื่มก่อนนอน ช่วยแก้ปัญหานอนไม่หลับมายาวนานในประวัติศาสตร์มนุษย์ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ
สารสำคัญกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่สำคัญกับการนอนคือ อะพิจีนีน ที่หลั่งออกมาจับกับ BDZ Receptor และ GABA Receptor ในสมอง ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย กระตุ้นการสร้างคลื่นสมองอัลฟา 1 ที่เป็นสัญญาณบอกร่างกายว่า ได้เวลาพักผ่อน
นอกจากสร้างความผ่อนคลาย คาโมไมล์ยังช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ ให้อยู่ในอัตราที่ทำให้รู้สึกสงบ ลดความวิตกกังวล กล้ามเนื้อผ่อนคลาย เลือดไหลเวียนได้ดี อยู่ในสภาวะที่เหมาะแก่การนอนที่สุด
จากข้างต้นจึงเป็นเหตุผลที่ชัดเจนว่า ทำไมวิตามินช่วยนอนหลับ จึงใช้คาโมไมล์เป็นส่วนผสม เพราะเป็นสมุนไพรที่ผลข้างเคียงน้อย และให้ผลลัพธ์ที่ดี ทานง่ายได้หลายวิธี และยังช่วยบำรุงสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ - แอล-ธีอะนีน เป็นกรดอะมิโนที่ช่วยเรื่องระบบประสาท ทำให้สมองผ่อนคลาย บำรุงสมอง เป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง GABA ที่ช่วยสร้างสารกระแสประสาท ลดการทำงานของเซลล์สมอง ช่วยเพิ่ม ซีโรโทนิน ช่วยควบคุมอารมณ์ เป็นสารจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเวช เพื่อช่วยให้รู้สึกสงบ ควบคุมความคิดไม่ให้ฟุ้งซ่าน
- แอล-กลูตามีน ช่วยในเรื่องสมอง การจดจำ ลดความเครียด เป็นสารตั้งต้นของเซลล์สื่อประสาท เสริมสร้าง โกร์ทฮอร์โมน ที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายเวลาหลับ
เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง แต่จะสร้างได้น้อยลดลงไปเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น ทำให้ แอล-กลูตามีน เป็นสารที่นิยมที่เหล่าอาหารเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย ที่มีปัญหาเรื่องความจำ และอารมณ์ และผู้ที่มีปัญหานอนน้อย ทำให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองขณะหลับได้ไม่เต็มที่ เพราะโกร์ทฮอร์โมนหลั่งได้น้อยลง - เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้ง่วง มีอีกชื่อหนึ่งว่า ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ ซึ่งร่างกายสามารถหลั่งออกมาได้เอง หากมีปริมาณที่มากพอ จะทำให้เราง่วงและหลับได้ ตามวงจรการนอนหลับ
ผู้มีปัญหาการนอนส่วนมาก มีปัญหามาจากเมลาโทนินไม่สามารถหลั่งได้ในปริมาณที่พอจะทำให้รู้สึกง่วง จึงทำให้นอนไม่หลับ ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อมการนอนไม่ดี ความเครียดจากงาน โรคประจำตัว ที่ทำให้การหลั่งเมลาโทนินผิดเพี้ยน
วิตามินช่วยนอนหลับที่ใช้เมลาโทนินเป็นส่วนผสมหลักเป็นที่นิยม เพราะผู้คนเข้าใจว่า เมลาโทนินปลอดภัย แต่ความจริงนั้น เมลาโทนินอันตรายกว่าที่คิด หากมองถึงผลที่ร่างกายจะได้รับในระยะยาว
เมลาโทนินที่ถูกขายในรูปแบบวิตามินช่วยนอนหลับ สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบ
- เมลาโทนินสังเคราะห์ ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เอง แต่ข้อควรระวังคือ เมลาโทนินสังเคราะห์อาจไม่เข้ากับร่างกายของคนทุกคน เพราะแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมบางคนกินเมลาโทนินสังเคราะห์แล้วไม่ง่วง
- สารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างเมลาโทนิน อาจมาจากสมุนไพร เช่น สารสกัดกระชายดำ ที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างเมลาโทนินด้วยตนเอง ซึ่งเมลาโทนินที่ได้จะเข้ากับร่างกายของเราและเห็นผลแน่นอน แต่ข้อด้อยคือไม่ใช่เมลาโทนินโดยตรง อาจเห็นผลช้ากว่า แต่ปลอดภัยมากกว่า
ความอันตรายของเมลาโทนิน หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมก็ไม่มีเรื่องที่ต้องกังวล แต่โดยปกติแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะคนส่วนมากติดการใช้เมลาโทนินเป็นประจำ ซึ่งในประเทศไทยยังคงเป็นยาผิดกฏหมาย ไม่สามารถซื้อทานเองได้ หากจำเป็นต้องใช้จะต้องควบคุมโดยแพทย์เท่านั้น
หากเราใช้เมลาโทนินเป็นประจำ อาจมีผลทำให้ร่างกายไม่สามารถหลั่งเมลาโทนินได้เอง หรือหลั่งได้ในปริมาณที่น้อยลง จนเราต้องใช้เมลาโทนินเป็นประจำ หรือเรียกว่า “อาการเสพติด” ยิ่งใช้ไปนาน ๆ ยิ่งต้องเพิ่มความเข้มข้นขึ้น เพราะร่างกายจะเริ่มคุ้นชินกับปริมาณเดิมจนยาไม่เห็นผล
นอกจากนี้ เมลาโทนินยังส่งผมข้างเคียงต่อร่างกาย เช่น ไม่สดชื่น ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ มวนท้อง อารมณ์แปรปรวนง่าย เป็นผลมาจากยา และการนอนที่ไม่มีคุณภาพ
เมลาโทนินเป็นตัวเลือกที่ดี หากต้องการแก้ปัญหาการนอนในระยะสั้น เช่น Jet lag แต่หากต้องการแก้ปัญหาที่ต้องเหตุ ควรแก้ที่พฤติกรรม หรือใช้สารสกัดสมุนไพรที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างเมลาโทนินด้วยตัวเอง ดีกว่าการใช้เมลาโทนินแบบสังเคราะห์
ตารางสรุป
สรุป
ในวิตามินช่วยนอนหลับ ส่วนมากใช้ส่วนผสมสารสกัดที่ช่วยสร้างความผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล ทำให้จิตใจสงบ เพื่อช่วยปรับสภาพร่างกาย และความคิด ให้อยู่ในสภาวะที่พร้อมนอนที่สุด และในสินค้าบางยี่ห้อยังมีส่วนผสมที่ช่วยบำรุงสมอง ให้สมองสุขภาพดีเพื่อสร้างปรับสมดุลทางอารมณ์ให้คงที่ ซึ่งมีผลกับการนอนในระยะยาว
สำหรับคนที่มีปัญหาการนอน การเลือกใช้วิตามินช่วยนอนหลับถือเป็นตัวเลือกที่ดีก่อนไปพบแพทย์ เพราะหาซื้อง่าย ขั้นตอนน้อยกว่า แต่ควรเลือกวิตามินช่วยการนอนที่มาจากสมุนไพร เพราะความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่นการเสพติด อาการมึนเบลอหลังใช้ อาการอ่อนเพลียหลังตื่น ควรเลือกยี่ห้อที่มีส่วนผสมที่ช่วยบำรุงสมอง และช่วยปรับสมดุลด้วย เพื่อสร้างวงจรการนอนที่ดีในระยะยาว
ลองคิดดูว่าปัญหาในชีวิตต่าง ๆ ทำงานได้ไม่เต็มที่ เรียนได้ไม่เต็มที่ เจ็บป่วยไม่หาย ร่างกายเสื่อมโทรม อาจมีต้นเหตุมาจากการนอนน้อยที่เราไม่ควรมองข้าม ได้นอนดี ได้สุขภาพดี
-
Dee-Nize ขนาดบรรจุ 10 แคปซูล
350 ฿Original price was: 350 ฿.290 ฿Current price is: 290 ฿. -
ฺBiotine X1 ขนาดบรรจุ 30 แคปซูล เพิ่มผมหนา ลดผมร่วง
690 ฿Original price was: 690 ฿.490 ฿Current price is: 490 ฿. -
ฺBiotine X2 ขนาดบรรจุ 30 แคปซูล เพิ่มผมหนา ลดผมร่วง
690 ฿Original price was: 690 ฿.490 ฿Current price is: 490 ฿. -
Dee-Nize ขนาดบรรจุ 30 แคปซูล
750 ฿Original price was: 750 ฿.590 ฿Current price is: 590 ฿. -
GLUCON สมุนไพรรวม ต้านเบาหวาน ขนาด 60 แคปซูล
820 ฿Original price was: 820 ฿.650 ฿Current price is: 650 ฿. -
Dee-Nize ขนาดบรรจุ 30 แคปซูล + 10 แคปซูล
1,280 ฿Original price was: 1,280 ฿.745 ฿Current price is: 745 ฿. -
ฺBiotine X1 ขนาดบรรจุ 60 แคปซูล เพิ่มผมหนา ลดผมร่วง
1,380 ฿Original price was: 1,380 ฿.890 ฿Current price is: 890 ฿. -
ฺBiotine X2 ขนาดบรรจุ 60 แคปซูล เพิ่มผมหนา ลดผมร่วง
1,380 ฿Original price was: 1,380 ฿.890 ฿Current price is: 890 ฿. -
Dee-Nize ขนาดบรรจุ 60 แคปซูล
1,500 ฿Original price was: 1,500 ฿.1,060 ฿Current price is: 1,060 ฿. -
GLUCON สมุนไพรรวม ต้านเบาหวาน ขนาด 120 แคปซูล
1,640 ฿Original price was: 1,640 ฿.1,220 ฿Current price is: 1,220 ฿. -
ฺBiotine X1 ขนาดบรรจุ 120 แคปซูล เพิ่มผมหนา ลดผมร่วง
2,760 ฿Original price was: 2,760 ฿.1,490 ฿Current price is: 1,490 ฿. -
ฺBiotine X2 ขนาดบรรจุ 120 แคปซูล เพิ่มผมหนา ลดผมร่วง
2,760 ฿Original price was: 2,760 ฿.1,490 ฿Current price is: 1,490 ฿.
ขอบคุณแหล่งข้อมูลดี ๆ
- วิทยานิพนธ์ ผลของการได้รับทอรีน สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนาร
- วารสาร ไทยไภษัชยนิพนธ มศก. ปีที่ 7 ฉบับเดือนมกราคม – เดือนธันวาคม 2555 มหาวิทยาลัยศิลปากร
- วารสาร ไทยไภษัชยนิพนธ มศก. ปีที่ 12 ฉบับเดือนมิถุนายน – เดือนธันวาคม 2560 มหาวิทยาลัยศิลปากร
- วารสาร สมุนไพรเพื่อสุขภาพสมอง ธรรมศาสตร์เวชสาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม 2556 มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
- วารสาร Food Journalอาหาร ปีที่ 43 ฉบับที่ 3 กรกฏาคม – กันยายน 2556 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บทความ การสกัดและวิเคราะห์เมลาโทนินในสมุนไพรไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บทความ ยานอนหลับและสารช่วยการนอนหลับ วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
- บทความ Insomnia ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
- จดหมายข่าว แอล-ธีอะนีน สถาบันชา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- Blog เมลาโทนิน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา