นอนไม่หลับ

นอนไม่หลับ ปัญหาโลกแตกของคนยุคใหม่

การนอนสำคัญยังไง?

การนอน คือการพักผ่อนที่ดีที่สุด จากความเหนื่อยล้าของร่างกาย และความยุ่งเหยิงในจิตใจ ช่วงเวลาของการหลับใหลจะช่วยเยียวยาเรา เพื่อเตรียมร่างกายของเราให้พร้อมเพื่อเริ่มต้นวันใหม่

การนอนขจัดความเครียด ซ่อมแซมร่างกาย และ สร้างเสริมการเติบโต ด้วยฮอร์โมนแห่งการเติบโตอย่าง Gwoth Hormorn ซึ่งเป็นฮอร์โมน ที่จะหลั่งออกมาเฉพาะตอนหลับลึกเท่านั้น เป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้เรา

ถ้าเราไม่นอน หรือนอนหลับไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าสะสม และเคมีในสมองผิดเพี้ยน ก่อเป็นต้นเหตุของทั้งโรคทางกาย และโรคทางจิตเวช

เทคโนโลยี กับปัญหาการนอน

นอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา
  • ระบบประสาท (สมอง และ ตา)
    ตาและสมอง เป็นอวัยวะที่มีผลต่อการนอนมากที่สุด โดยอธิบายได้ตามหลักการ “นาฬิกาชีวิต” ของมนุษย์ ที่แปรผันด้วย “แสง” ที่เริ่มต้นตั้งแต่ตอนเช้าที่มนุษย์เห็นแสงพระอาทิตย์ขึ้น และเริ่มช้าลงในตอนเย็นที่พระอาทิตย์ตกดิน ที่บอกร่างกายเราว่าเป็นเวลานอนของมนุษย์นั่นเอง

    นอกจากตาและสมอง ยังมีปัจจัยอื่นอีกหลายข้อ ที่มีผลกับ “นาฬิกาของร่างกายเรา” เช่น แสงแดด อุณหภูมิ เสียง และสิ่งรบกวนอื่น ๆ

  • เทคโนโลยี กับ แสง มีผลกับการนอน!
    แสง แหล่งกำเนิดแสงที่มีผลกับมนุษย์มาตั้งแต่อดีต คือ “พระอาทิตย์” ที่ให้แสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า เพื่อเปิดสวิตช์ในร่างกายของเราว่า “ตื่น!! ได้เวลาใช้ชีวิตแล้ว” แสงแดดร้อนแรงในตอนกลางวัน กระตุ้นให้เรากระปรี้กระเปร่า และแสงอาทิตย์สีส้มในตอนเย็น ก็ช่วยปิดสวิตช์ โหมดทำงานของเรา เปิดโหมดพักผ่อน เตรียมนอน

    เทคโนโลยี แหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อให้แสงในตอนกลางคืน ในยุคแรกที่เทคโนโลยีเฟื่องฟู สิ่งที่ให้แสงกับมนุษย์ คงเป็น “หลอดไฟ ไฟฉาย” เพื่อใช้ในการส่องสว่าง ต่อมาเป็นแสงจากหน้าจอต่าง ๆ ที่ในยุคแรกคือหน้าจอแก้วจากโทรทัศน์ยุคเก่า ที่ต้องนั่งดูไกล ๆ จอเพื่อรักษาสุขภาพดวงตา ต่อมาในปัจจุบัน เป็นจอมือถือที่ปล่อยแสงจ้า ที่ห่างดวงตาของเราเพียงคืบเดียวเท่านั้น

    เมื่อเรานำ เรื่องแสงกับนาฬิกาชีวิตมาบวกรวมกับเทคโนโลยี จึงเห็นเป็นต้นเหตุของปัญหานอนไม่หลับของคนใน ยุคดิจิทัล 2022 ที่มนุษย์ทุกคนพกแหล่งกำเนิดแสงใส่กระเป๋ากางเกงในรูปแบบของมือถือได้ และเราใช้มือถือกันทุกคน และตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนจะนอน 

  • เมลาโทนิน
    เมลาโทนิน พระเอกแห่งความง่วง ฮอร์โมนที่แสนเอาใจยาก เพราะจะหลั่งเฉพาะตอนที่ร่างกายอยู่ในสภาวะที่เหมาะพร้อมนอนเท่านั้น

    สิ่งที่รบกวนการสร้างเมลาโทนินได้มากที่สุด อยู่ในมือที่ท่านกำลังถือเพื่ออ่านข้อความนี้อยู่ นั่นคือ “มือถือ” ที่ปล่อยแสงสีฟ้า เป็นช่วงคลื่นแสงที่ปลุกร่างกายตามนาฬิกาชีวิตว่า “นี่คือเวลานอน” “นี่คือเวลากลางวัน” ทำให้เมลาโทนินไม่หลั่งออกมา หรือหลั่งออกมาได้น้อย เพราะร่างกายเข้าใจผิดว่ายังไม่ใช่เวลานอน นั่นทำให้เรานอนไม่หลับนั่นเอง

    อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเมลาโทนินได้ที่ [เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร]

  • โกร์ทฮอร์โมน
    โกร์ทฮอร์โมน (Gwoth Hormorn) คือฮอร์โมนแห่งการเสริมสร้าง และซ่อมแซมร่างกายที่เหน็ดเหนื่อยจากการใช้ชีวิต ช่วยสร้างการเจริญเติบโต ให้กับเด็ก ๆ ให้โตตามวัย เป็นฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการพักผ่อน เหมือนเป็นการเข้าโหมดชาร์จแบต เติมพลังให้กับร่างกาย

    โกร์ทฮอร์โมน จะหลั่งออกมาในช่วงของ “การหลับลึก” เท่านั้น ซึ่งการหลับลึก คิดเป็นสัดส่วนเพียง 20% ของการนอนตลอดทั้งคืนเท่านั้น ถือเป็นนาทีทองของการพักผ่อน หากใครที่มีช่วงหลับลึกที่สั้นกว่านี้ การนอนจะไม่มีคุณภาพ ทำให้เพลีย ง่วง ป่วยง่าย ระบบภูมิคุ้มกันพัง ระบบย่อยอาหารพัง ระบบประสาทพัง

ปัญหาการนอน ของคนยุคปัจจุบัน

คนที่มีปัญหาการนอน แบ่งเป็น 2 ประเภท

นอนไม่หลับ ทําไงดี
  • หลับยาก หมายถึง คนที่ใช้เวลาในการหลับ “นานกว่าปกติ” ซึ่งค่าเฉลี่ยของคนปกติอยู่ที่ 15-20 นาที ถ้าใช้เวลามากกว่านี้ นั่นหมายความว่าเป็นคนหลับยาก 
    • สาเหตุ : มาจากเครียดก่อนนอน หรือพฤติกรรมบางอย่างที่ทำก่อนนอน 
    • ผลกระทบ : ชั่วโมงการนอนน้อยลง ช่วงหลับลึกสั้น
  • ตื่นง่าย หมายถึง คนที่หลับได้ปกติ แต่ “ตื่นกลางดึกบ่อย” ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่สามารถกลับไปหลับได้ปกติ และแบบที่กลับไปหลับได้ยาก
    • สาเหตุ : เกิดจากระดับฮอร์โมนในสมองไม่ปกติ สมดุลในสมองต่ำ และโรคประจำตัว
    • ผลกระทบ : ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียหลังตื่น สมองเบลอ คิดช้า ตัดสินใจช้า
  • คนที่มีปัญหาการนอนไม่ว่าจะในรูปแบบใด จะได้รับผลกระทบในทางเดียวกันคือ สมองตีบตัน ขี้ลืม อารมณ์แปรปรวน ตัดสินใจช้า ปวดเมื่อยร่างกาย ปวดหัว ตาพร่ามัว อ่อนเพลียตลอดทั้งวัน ไม่มีความสุข

วงจรการนอน

ในวงจรการนอน 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 90 นาที  ซึ่งสามารถแบ่งการนอนได้เป็น 5 สเตจ ซึ่งในแต่ละสเตจร่างกายจะอยู่ในสภาวะที่แตกต่างกัน เพื่อจะเข้าใจปัญหาการนอน เราควรรู้จักวงจรการนอน เพื่อวิเคราะห์ว่า เราจัดอยู่ในคนที่มีปัญหาการนอนแบบไหน

นอนไม่หลับ,นอนไม่หลับ ทําไงดี,นอนไม่หลับกินยาอะไรดี,นอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา,นอนไม่หลับทั้งคืน

สเตจที่ 1 หลับตื้น (คิดเป็น 10% ของวงจร หรือ 10 นาทีแรกของการหลับ)

  • นับตั้งแต่ช่วงที่เราเริ่มเคลิ้มหลับ หรือเรียกว่าอยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มรู้ตัวแล้วว่า “กำลังนอน”
  • หากถูกปลุกในระยะนี้ จะไม่มีผลอะไรกับร่างกายมากนัก เพราะร่างกายยังคงตื่นตัวอยู่ สะดุ้งตื่นได้ง่าย
  • การนอนในสเตจนี้ สามารถใช้งีบระหว่างวันได้ เพื่อพักสมองและดวงตาที่เมื่อยล้า ไม่ควรใช้เวลาเกิน 15-20 นาที 

สเตจที่ 2  หลับนิ่ง (คิดเป็น 45-55% หรือ 45 นาที ของวงจรการนอน)

  • เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มเปิดโหมดพักผ่อน เป็นช่วงการนอนที่ยาวนานที่สุด  
  • ในระยะนี้ สมองจะเริ่มเคลียความคิดที่ยุ่งเหยิง เริ่มรู้สึกผ่อนคลาย เริ่มหายใจช้าลง หัวใจเริ่มเต้นช้าลง อุณหภูมิร่างกายลดลง
  • การนอนในสเตจนี้ มักเป็นสเตจที่ได้รับการรบกวนมากที่สุด เช่น การตื่นมาฉี่กลางดึก การสะดุ้งตื่นแบบรุนแรง การนอนกรน

สเตจที่ 3  เริ่มหลับลึก (คิดเป็น 5-10% หรือ 10 นาที ของวงจรการนอน)

  • เป็นระยะการหลับลึกระยะแรก คลื่นสมองเริ่มปรับสู่ความถี่ระดับ Delta Waver ที่ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการหลั่ง โกร์ทฮอร์โมน ออกมาทำหน้าที่ซ่อมแซมร่างกาย
  • หากถูกปลุกในระยะนี้ จะมีผลกับสมอง และร่างกาย

สเตจที่ 4  หลับลึกมาก 15%  (คิดเป็น 15% หรือ 15 นาที ของวงจรการนอน)

  • เป็นระยะที่ร่างกายได้รับการซ่อมแซมของโกร์ทฮอร์โมนมากที่สุด เรียกได้ว่า เป็น “นาทีทองแห่งการนอน”
  • คนที่รักษาระดับการนอนในระดับนี้ได้ดี จะมีร่างกายที่แข็งแรงกว่าปกติ ร่างกายไม่สะสมไขมัน ผิวพรรณสดใส

สเตจที่ 5 ช่วงหลับฝัน (คิดเป็น 20% หรือ 20 นาที ของวงจรการนอน)

  • หรือที่เรียกว่า REM Sleep เป็นระยะที่ดวงตา สามารถเคลื่อนไหวได้ เป็นช่วงที่เราหลับฝัน บางช่วงของการฝันของเราจะเหมือนจริงมาก เพราะร่างกายและดวงตา รู้สึกตื่นตัว ในระดับที่ใกล้เคียงกับตอนตื่น
dee nize2
cta deenize1
cta deenize2

นอนไม่หลับ ภัยเงียบ ที่ไม่เงียบ

ปัญหาการนอนเกิดจาก

  • ร่างกาย เกิดจากความเหนื่อยสะสม หรือโรคประจำตัว อาการเจ็บปวด ที่ทำให้ทรมานจนไม่สามารถหลับได้
  • จิตใจ เกิดจากความผิดปกติของเคมีในสมอง อาจมาจากความเครียด ความวิตกกังวล หรือโรคทางจิตเวช
  • สภาพแวดล้อม อาจมาจากอากาศที่ร้อนเกินไป เสียงรบกวน เตียงแข็ง ๆ หรือห้องที่มืดไม่สนิท
  • อุปกร์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มี Blue light ดับเมลาโทนิน ปลุกคลิทิซอล ทำให้นาฬิกาชีวิตผิดเพี้ยน
นอนไม่หลับทั้งคืน

อันตรายแค่ไหน ถ้านอนไม่หลับ

  • ระบบเผาผลาญ (รูปร่างพัง)
    ขณะที่เราหลับ ร่างกายจะทำการดึงพลังงานจากไขมัน ที่ถือเป็นหน่วยพลังงานสำรองของร่างกายมาใช้ ทำให้การนอนช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกินได้ในทางอ้อม ถ้าเรานอนไม่พอ ไขมันส่วนเกินที่ควรได้ใช้ จะถูกกักเก็บไว้ ทำให้อ้วน

    โกร์ทฮอร์โมน มีส่วนช่วยในการเผาผลาญโปรตีน และไขมัน ควบคุมระดับน้ำตาล กระตุ้นให้ร่างกายนำกรดอะมิโนมาใช้มากขึ้น หากหลับลึกได้น้อย ไขมันสะสมได้มาก ผิวพรรณแก่เกินวัย

  • ระบบประสาท (สมองพัง)
    สมองที่เต็มไปด้วยเซลล์สื่อประสาท และสารเคมี ฮอร์โมนสำคัญต่าง ๆ จึงเป็นอวัยวะที่ได้รับการพักผ่อนมากที่สุดในร่างกาย ซึ่งการพักสมองที่ที่ดีสุดคือ การนอน

    ถ้านอนไม่พอ สมองจะกักเก็บความเครียด และฮอร์โมนอารมณ์ ที่มีผลต่อความรู้สึกและการแสดงออกของเรา เป็นต้นเหตุของโรคทางจิตเวชหลายโรค

  • ระบบภูมิคุ้มกัน (อ่อนแอ)
    การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นการทำลายแอนตี้บอดี้ และเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นผู้พิทักษ์ แบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย จึงไม่น่าแปลกใจที่ว่า ทำไมเวลาเราป่วย คุณหมอมักจะบอกกับเราว่า “ให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ”

วิธีแก้ปัญหานอนไม่หลับ สำหรับคนยุคใหม่

ใช้วิธีแบบธรรมชาติ

  • รับแสงแดด ช่วงเวลา 09.00-10.00 น. ในช่วงคลื่นแสงประมาณ 3000 ลักซ์ ช่วยกระตุ้นการสร้างเมลาโทนินก่อนนอน
  • ปรับ Body Clock ตื่น กิน นอน ให้ตรงเวลาทุก ๆ วัน 
  • ปรับสภาพแวดล้อม ห้องนอนให้น่านอน สะอาด อากาศปลอดโปร่ง ปรับฮวงจุ้ยห้องนอน
  • ออกกำลังกาย เบา ๆ ในช่วงเย็นก่อนทานมื้อค่ำ ช่วยให้หลับง่ายขึ้น
  • ควรเลี่ยงอาหารรสจัด ที่ทำให้เราปวดท้อง จนต้องตื่นกลางดึก
  • ควรเลี่ยงนอนกลางวันนานเกิน 20 นาที เพราะจะกระทบการนอนตอนกลางคืน 
  • ควรเลี่ยงมือถือ เพราะแสงสีจากหน้าจอ รบกวนการนอน และทำลายดวงตา
นอนไม่หลับ,นอนไม่หลับ ทําไงดี,นอนไม่หลับกินยาอะไรดี,นอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา,นอนไม่หลับทั้งคืน
cta deenize1
cta deenize2

วิธีใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม แก้ปัญหานอนไม่หลับ

นอนไม่หลับ,นอนไม่หลับ ทําไงดี,นอนไม่หลับกินยาอะไรดี,นอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา,นอนไม่หลับทั้งคืน

Application Sleep Tracker ที่ใช้ผ่าน Smart Phone

  • ข้อดี : ช่วยวัดคุณภาพการนอน วัดวงจรการนอน วัดการนอนกรน และอาการละเมอขณะหลับ สามารถใช้งานได้ฟรีในบางแอป ขั้นตอนการใช้งานไม่ซับซ้อน
  • หลักการทำงาน : ทำงานด้วยการตรวจจับเสียงที่เกิดขึ้นในห้องนอน เพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะหลับ ซึ่งสามารถบอกถึงปัญหาการนอนกรน ช่วงสเตจ REM Sleep หรือช่วงฝันที่ร่างกายขยับตัวมากกว่าปกติ
  • ประโยชน์ : สามารถใช้เพื่อประเมินคุณภาพการนอนเบื้องต้น เพื่อรู้ถึงปัญหาการนอนของเราว่าเกิดขึ้นในช่วงการนอนสเตจไหน เพื่อการรักษาอย่างตรงจุด
  • เทคนิคในการใช้ : เพื่อผลที่แม่นยำมากขึ้น ควรวาง Smartphone ให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกรบกวน และใกล้กับเตียงนอนให้ได้มากที่สุด และแนะนำให้ใช้กับ Smart Watch ที่สามารถวัดการเต้นของหัวใจ และออกซิเจนในกระแสเลือด
  • ตัวอย่าง : Pillow, Sleep Cycle, Sleep++, Sleep Tracker (by SleepMatic), AutoSleep

ASMR Ambient เสียงเพื่อนอนหลับ เช่นเสียง บรรยากาศธรรมชาติ และดนตรีบรรเลง 

  • ข้อดี : ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย หาใช้ง่าย สามารถปรับแต่งได้ตามความชื่นชอบ
  • หลักการทำงาน : เสียงดนตรีที่มีความเร็วที่ 60-80 bmp สามารถปรับระดับการเต้นของหัวใจให้ช้าลง ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เสียงธรรมชาติ ช่วยให้รู้สึกสงบ
  • ประโยชน์ : สามารถหาฟังง่าย ปรับแต่งได้อิสระ และยังสามารถใช้เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องนอนได้ ราคาถูก
  • เทคนิคในการใช้ : แนะนำให้ใช้เพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง เป็นเพลงบรรเลง หรือเป็นเสียงธรรมชาติที่ไม่มีเสียงผู้คน เช่น เสียงฝน เสียงน้ำไหล เสียงป่า
  • ตัวอย่าง แนะนำ : Checkpoint.tokyo , Relax Melodies: Sleep Sounds , Atmosphere: Relaxing Sounds 

การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ และอุปกรณ์

Dream light Pro (Red Light Therapy)

นอนไม่หลับ,นอนไม่หลับ ทําไงดี,นอนไม่หลับกินยาอะไรดี,นอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา,นอนไม่หลับทั้งคืน
  • ข้อดี : เป็นอุปกรณ์สวมใส่ที่ใช้งานง่าย เป็นลักษณะคล้ายหน้ากากที่ปิดบริเวณดวงตาแบบใบหู 
  • หลักการทำงาน : เครื่องมือที่ช่วยปล่อยแสงโทนสีส้ม และสีแดง ที่จัดอยู่ในการบำบัดแบบ Red Light Therapy เป็นแสงในโทนเดียวกับแสงพระอาทิตย์ยามเย็น ที่ช่วยบอกกับเราว่าได้เวลาพักผ่อน ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเมลาโทนิน ทำให้รู้สึกง่วงโดยธรรมชาติ
  • ประโยชน์ : ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เมลาโทนินหลั่งได้ดีขึ้น
  • ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://dreamlight.tech/products/pro

Hyperbaric Oxygen Therapy (HBO)

ออกซิเจน มีผลกับสมองมากที่สุด หากสมองขาดออกซิเจน จะทำให้สมองตาย รวมถึงเฮโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่พากันเดินทางไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ปัญหานอนไม่หลับ ต้นเหตุมาจากสมอง ที่กักเก็บความเครียด และฮอร์โมนทางอารมณ์ที่ผิดเพี้ยน ทำให้นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ซึ่งปัญหาแฝงที่คนนอนไม่หลับไม่รู้คือ ปัญหาการหายใจไม่อิ่ม ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนได้น้อย เป็นอีกต้นเหตุหนึ่งของความเครียดสะสม และอาการนอนไม่หลับ การบำบัดร่างกายด้วยออกซิเจน ถือเป็นตัวเลือกที่ดี

  • ข้อดี : เป็นการบำบัดที่ได้ผลทันทีหลังบำบัด ช่วยฟื้นฟูร่างกายในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการนอน และสมอง เป็นการบำบัดที่สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย
  • หลักการทำงาน : เป็นการใช้ “ออกซิเจน” ในการบำบัดร่างกาย โดยการเพิ่มแรงดัน และปริมาณของออกซิเจน ทำให้ออกซิเจนเข้าไปทำหน้าที่ในกระบวนการทางร่างกายได้ดีขึ้น
  • ประโยชน์ : ช่วยในการฟื้นฟูระบบประสาท เพราะสมองได้รับออกซิเจนเต็มที่ ทำให้ร่างกายรู้สึกปลอดโปร่งทันทีหลังจากการบำบัด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกาย ซึ่งมีประโยชน์กับร่างกายในหลาย ๆ ด้าน

ในประเทศไทย สามารถทำ Hyperbaric Oxygen Therapy โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1000-2000 บาท และใช้เวลาในการบำบัดอยู่ที่ 1 ชั่วโมงต่อครั้ง โดยสามารถทำได้ที่ โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, โรงพยาบาลเปาโล, โรงพยาบาลสุขุมวิท, โรงพยาบาลยันฮี

นอนไม่หลับ,นอนไม่หลับ ทําไงดี,นอนไม่หลับกินยาอะไรดี,นอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา,นอนไม่หลับทั้งคืน
cta deenize1
cta deenize2

นวัตกรรมอาหารเสริม ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการนอนที่ต้นเหตุ

Dee-Nize

อาหารเสริมช่วยนอนหลับ ที่ดีที่สุดเรื่องการคัดสรรสารสกัดจากสมุนไพรแห่งการนอน ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการนอนจากต้นเหตุ ไม่ว่าจะเป็น นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ตื่นมาแล้วไม่สดชื่นเป็นนวัตกรรมอาหารเสริมที่ใช้เวลาออกแบบสารสกัดกว่า 3 ปี โดยทดลองใช้กลุ่มผู้ใช้ที่มีปัญหานอนไม่หลับจริง จนได้สารสกัดที่ถูกเลือกเพื่อใช้แก้ปัญหาการนอน ทั้ง 9 สารสกัดธรรมชาติ 

ข้อดี : ราคาถูก เห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ ไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ ปลอดภัยกว่ายานอนหลับ และเมลาโทนินแบบสังเคราะห์ ไม่เสพติดการใช้งาน สามารถหลับสนิทได้มากขึ้น หลับง่ายกว่าปกติ ตื่นมารู้สึกสดชื่น

นอนไม่หลับ,นอนไม่หลับ ทําไงดี,นอนไม่หลับกินยาอะไรดี,นอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา,นอนไม่หลับทั้งคืน

หลักการทำงาน :

  1. ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย จากสารสกัดคาโมไมล์ ในปริมาณที่เหมาะสมกับคนที่มีภาวะเครียด และซึมเศร้า เป็นการเปิดโหมดสบายให้กับสมอง 
  2. กระตุ้นการสร้างเมลาโทนิน จากสารสกัดจากเชอร์ทาร์ต ทำให้ร่างกายหลั่งเมลาโทนินได้มากกว่าปกติ ซึ่ง “เป็นเมลาโทนินของเราเอง ไม่ใช่เมลาโทนินแบบสังเคราะห์” ซึ่งจะค่อย ๆ หลั่งออกมาตลอดทั้งคืน เพื่อรักษาระดับการนอนให้คงที่
  3. ทำให้เข้าสู่วงจรการนอนในสเตจที่ 2 (สเตจ นอนนิ่ง) ได้เร็วขึ้น และลดการตื่นในสเตจนี้ลง ไม่ถูกขัดจังหวะจากสภาพแวดล้อมทำให้เพิ่มโอกาสให้การนอนของเราถึงสเตจที่ 3 (สเตจ หลับลึก) ได้มากขึ้น 
  4.  ทำให้การนอนในสเตจหลับลึก (สเตจที่ 3) ได้นาน และคงที่กว่าปกติ จากสารสกัดเพื่อสมอง ที่ช่วยรักษาคลื่นสมองให้อยู่ในระดับ Delta Wave ซึ่งเป็นช่วงคลื่นที่สมองรู้สึกผ่อนคลายที่สุด และเกิดการหลั่งของ โกร์ทฮอร์โมนมากที่สุด ซึ่งดีไนซ์ เด่นในเรื่องของคุณภาพการนอน เพราะทำให้ช่วงหลับลึกอยู่ได้นานกว่าปกติ ร่างกายตักตวงโกร์ทฮอร์โมนได้เต็มที่

ประโยชน์ : ช่วยทำให้หลับง่าย ช่วยทำให้คุณภาพการนอนดีขึ้น สมองดีขึ้นทั้งในเรื่องของความจำ สมาธิ และความคิดสร้างสรรค์ ปรับสมดุลทางอารมณ์ด้วยสารสกัดแบบเดียวกับที่ใช้รักษาผู้ที่มีภาวะผิดปกติทางเคมีในสมอง ในปริมาณที่เหมาะสม ผู้สูงอายุ หรือเด็กสามารถใช้ได้

เทคนิคในการใช้ : หลังทานอาหารเสริม ควรพาตัวเองเข้านอนทันที นอนแบบตั้งใจนอน ไม่ควรเล่นมือถือ หรือทำกิจกรรมอื่น เพราะดีไนซ์ ไม่ใช่ยานอนหลับ ดีไนซ์ช่วยให้ง่วงได้ แต่หากร่างกายของผู้ใช้ฝืนทำกิจกรรมที่ขัดต่อการนอน จะทำให้ผลลัพธ์ของผลิตภัณฑ์ลดลง

นอนไม่หลับ,นอนไม่หลับ ทําไงดี,นอนไม่หลับกินยาอะไรดี,นอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา,นอนไม่หลับทั้งคืน

“ดีไนซ์” นวัตกรรมเพื่อการนอนที่ดี สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการนอนที่ต้นเหตุ

นอนไม่หลับ,นอนไม่หลับ ทําไงดี,นอนไม่หลับกินยาอะไรดี,นอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา,นอนไม่หลับทั้งคืน
cta deenize1
cta deenize2

สรุป

ในยุคที่เทคโนโลยีสร้างผลกระทบที่ทำลายการนอนของเรา เราเองก็สามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาการนอนได้เช่นกัน เพราะสุขภาพคือสิ่งสำคัญ หากระบบในร่างกายพัง ไม่สามารถเปลี่ยนซ่อมได้เหมือนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เราควรดูแลสุขภาพของเราเลยตั้งแต่วันนี้ เริ่มต้นด้วยการให้การนอนที่ดีกับร่างกาย เพราะสุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการนอน

202207 14 20persen seo 01
นอนไม่หลับ,นอนไม่หลับ ทําไงดี,นอนไม่หลับกินยาอะไรดี,นอนไม่หลับ สมองคิดตลอดเวลา,นอนไม่หลับทั้งคืน

แหล่งข้อมูล