ปัญหานอนไม่หลับเป็นปัญหายอดฮิตพอๆ กับปัญหาปวดหลัง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในหมู่ของผู้สูงอายุ ซึ่งการเรียนรู้สาเหตุของปัญหาและการรักษาจะช่วยให้เราสามารถลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนอนไม่หลับได้
10 สาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ
- ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมที่ทำให้นอนหลับยาก หลับไม่สนิท เช่น มีแสงสว่างมากเกินไป คับแคบอึดอัด มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ มีเสียงดังจากข้างห้องหรือข้างบ้าน และการนอนรวมกับผู้อื่นที่ไม่สนิท เป็นต้น
- สภาวะทางจิตใจและอารมณ์ เช่น ความเครียด การได้รับแรงกดดัน การหมดไฟ หมดกำลังใจ ท้อแท้ เป็นต้น หรืออาจกำลังต้องเผชิญกับความเศร้า เช่น การสูญเสียของรัก คนที่รัก เป็นต้น
- อาการเจ็บป่วย จำพวกที่ส่งผลให้เกิดการปวด เช่น ปวดหัว ปวดขา ปวดแขน ปวดท้อง เป็นต้น อาการคลื่นไส้อาเจียน และการวิงเวียนศีรษะ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับชั่วคราวเมื่ออาการเจ็บป่วยหายไปก็จะสามารถนอนหลับได้ปกติ แต่สำหรับบางโรคอาจส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง เป็นต้น
- มีปริมาณแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในร่างกายสูงจนเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากการรับประทานเหล้า เบียร์ กาแฟและการสูบบุหรี่มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับรวมทั้งโรคอื่นๆ อีกด้วย
- สภาวะการนอนละเมอ การนอนกรน ฝันร้าย ที่ส่งผลให้ร่างกายไม่ได้หลับอย่างสนิท มักส่งผลให้ช่วงเช้าหรือหลังตื่นนอนมีอาการอ่อนเพลียและมึนงง
- อาชีพที่ทำให้มีเวลานอนไม่แน่นอน เช่น ตำรวจ หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น ทำให้ร่างกายไม่สามารถเรียนรู้และจดจำพฤติกรรมการนอนที่เหมาะสมได้ รวมทั้งหากต้องนอนในเวลากลางวัน อาจถูกผลกระทบจากแสงทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้เช่นกัน
- การกินมากเกินไปหรือการอดอาหารจนท้องว่าง ก็ส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับได้เช่นกัน โดยเฉพาะอาหารบางชนิดที่ไม่ควรรับประทานเป็นมื้อเย็นเพราะอาจส่งผลให้นอนไม่หลับ เช่น พริก , ช็อกโกแลต , ชีส , กระเทียม , หอมใหญ่ , น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เนื่องจากนอนหลับถูกควบคุมด้วยสมองทำให้ยาที่มีฤทธิ์ส่งผลต่อสมองอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาโรคสมาธิสั้น ยารักษาโรคทางจิต ยารักษาโรคสมองเสื่อม(Alzheimer) ยารักษาโรคพาร์กินสัน(Patkinson) และยาอื่นๆ เช่น ยาแก้คัดจมูก ยารักษาโรคหืด ยารักษาอาการปัสสาวะเล็ด/กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาต้านเชื้อไวรัส เป็นต้น
- Jet Lag (เจ็ตแล็ก) หรืออาการนอนไม่หลับที่เกิดจากความผิดปกติของการปรับตัวให้เข้ากับเวลาใหม่ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://dwpharma.co/jet-lag/
- ข้อสุดท้ายคือข้อสำคัญสำหรับคนรุ่นใหม่เลย คือ ปัญหาแสงสว่างจากอุปกรณ์ elctronic เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ซึ่งนอกจากแสงสว่างจากอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำให้นอนไม่หลับแล้วนั้น การใช้อุปกรณ์เหล่านี้จนเกินระยะเวลาที่เหมาะสมมักจะทำให้ร่างกายปรับสมดุลการนอนหลับได้ไม่ดี ทำให้เมื่อถึงเวลาที่จะนอนมีอาการนอนไม่หลับและก็จะหยิบอุปกรณ์มาใช้อีกครั้ง จนเกิดวงเวียนการนอนไม่หลับจากอุปกรณ์ electronic จนร่างกายอ่อนล้าจนถึงขีดสุดแล้วจึงนอนหลับไป
ทั้ง 10 ข้อเหล่านี้คือสาเหตุที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่มีปัญหานอนไม่หลับทั้งแบบชั่วคราวและแบบเรื้องรัง และอาจส่งผลให้ป่วยเป็นโรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia ได้
พิเศษ!! สำหรับลูกค้าใหม่ รับโค้ดส่วนลด 50 บาท ที่หน้าร้าน Shopee และ Lazada
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คืออะไร
โรคนอนไม่หลับ คือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติในวงจรการนอนหลับ ไม่สามารถหลับสนิท นอนหลับยาก อาจใช้เวลานอนนานกว่า 30 – 60 นาที หลังจากเข้านอน ถึงจะหลับได้ สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะพบมากสำหรับคนที่สูงอายุ โดยอาจส่งผลให้สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ นอกจากนี้ยังส่งผลถึงความทรงจำ เกิดอาการหงุดหงิดง่าย รวมทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย
โรคนอนไม่หลับหรือ Insomnia ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- Adjustment insomnia (โรคการนอนไม่หลับจากการปรับตัว) มักเกิดจากสถานการณ์บางอย่าง เช่น ความเครียด การเจ็บป่วย ปัญหาจิตใจ สภาพแวดล้อม และการปรับตัวให้เข้ากับเวลาใหม่เช่น Jet Lag เป็นต้น เป็นโรคนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นชั่วคราวในระยะสั้นและมักกลับมาเป็นปกติเมื่อผ่านมาช่วงเวลาหนึ่ง
- Chronic insomnia (โรคการนอนไม่หลับเรื้อรัง) คือมีปัญหาการนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป อาจเป็นมากถึง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์และไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้เองตามธรรมชาติ
วิธีเช็คว่าตัวเองเป็นโรคนอนไม่หลับแล้วหรือยัง
โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราต้องการระยะเวลาการนอนหลับหรือพักผ่อนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิต อายุ เพศ สิ่งแวดล้อมและความจำเป็น ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับสามารถสังเกตอาการได้จากอาการดังต่อไปนี้
- รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่สดใสปลอดโปร่ง มีอาการง่วงซึมในระหว่างวัน
- ง่วงนอนตลอดและต้องงีบระหว่างวันบ่อยๆ โดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
- ขอบตาหมองคล้ำ หนังตาหย่อนคล้อย ตาบวม
- ผิวหมองคล้ำ ผิวพรรณไม่กระจ่างใส
- ขาดสมาธิในการทำงาน ตัดสินใจช้า สมองไม่ปลอดโปร่ง ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน
พิเศษ!! สำหรับลูกค้าใหม่ รับโค้ดส่วนลด 50 บาท ที่หน้าร้าน Shopee และ Lazada
วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ
การรักษาอาการนอนไม่หลับมีหลายวิธีที่นิยมกันขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและอาการของผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับ โดยเราได้จำแนกวิธีการรักษาอาการนอนไม่ไหลับออกเป็น 2 ประเภท คือ การรักษาโดยการใช้ยา และการรักษาโดยไม่ใช้ยา ดังนี้
การรักษาโดยการใช้ยา
คือการใช้ยาที่จะต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น เป็นยาที่ช่วยเพิ่มระดับเมลาโทนิน(Melatonin)ในร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการนอนหลับ รวมทั้งอาจเป็นยาที่ใช้รักษาอาการทางจิต ช่วยผ่อนคลายและลดความวิตกกังวล ทำให้สามารถนอนหลับได้ง่ายและนอนหลับสนิท
ข้อเสีย
อาจเกิดผลข้างเคียงทำให้มีอาการ ติด ดื้อ และน็อค คือ เคยชินกับการใช้ยานอนหลับจนไม่สามารถนอนหลับโดยปราศจากการใช้ยานอนหลับได้ เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานยังทำให้เกิดการดื้อยาซึ่งโดยปกติจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการและมักจะต้องปรับสูตรยาหรือเพิ่มปริมาณการใช้ยาเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ โดยเฉพาะเมื่อใช้ติดต่อกันนานๆ และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ อาจเกิดอาการน็อคหรือช็อกได้ ทั้งนี้เนื่องจากการใช้ยานอนหลับมีความเสี่ยงและอันตรายสูง จึงจำเป็นจะต้องสั่งจ่ายยานี้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
การรักษาโดยการไม่ใช้ยา
สามารถทำได้ในกลุ่มของผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับทุกเพศทุกวัย โดยสามารถเริ่มทำง่ายๆ ได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือวิถีชีวิตที่ส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับ โดยมีวิธีการที่เรียกว่า “ออก5” ดังนี้
- ออกจากสภาพแวดล้อมที่ทำให้นอนไม่หลับ คือ การจัดการกับห้องนอนให้เหมาะสมกับการนอนหลับ เช่น ทำให้อากาศถ่ายเทได้ดี มีอุณหภูมิห้องที่พอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกิดไป มีความสะอาดดูสบายตา ที่สำคัญเลือกเครื่องนอนที่เหมาะกับร่างกาย
- ออกไปทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น การไปเที่ยว การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมสันทนาการ จะช่วยให้สามารถลดความเครียด ความวิตกกังวลได้
- ออกจากวงการแอลกอฮอล์และคาเฟอีน หลายคนเข้าใจว่าหากไม่กินกาแฟจะทำให้ง่วงและไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งแท้จริงแล้วกาแฟคือตัวการที่ทำให้เราง่วงจนต้องอยากรับประมาณกาแฟอีก ซึ่งเราเรียกว่า”การติดกาแฟ” ซึ่งหากเรางดกาแฟสักระยะแล้ว ร่างกายจะกลับมามีสมดุลปกติ
- ออกตารางเวลานอนและเวลาตื่น เพื่อให้ร่างกายสามารถจดจำเวลาที่เหมาะสมในการเข้านอน ช่วยให้รู้สึกง่วงเมื่อถึงเวลานอนและสามารถตื่นนอนได้อย่างสดใสอีกด้วย
- ออกห่างจากการใช้อุปกรณ์ electronic เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต ก่อนเข้านอน เพราะจะทำให้แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์เหล่านี้ทำให้สมองสั่งการให้ไม่อยากนอนหลับและอาจใช้เวลาในการนอนหลับมากกว่าปกติ 2-3 เท่า
ข้อเสีย
การรักษาโดยการไม่ใช้ยานั้นจำเป็นต้องสร้างวินัยสำหรับผู้ป่วยนอนไม่หลับและต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวไปจนถึงการเห็นผลลัพธิ์ที่ช้ากว่าการใช้ยานอนหลับอีกด้วย และหลายคนมองว่าการรักษาด้วยวิธีนี้เป็นอะไรที่ยุ่งยากและกระทบกับวิถีชีวิตโดยเฉพาะคนที่ไม่สามารถนอนเป็นเวลาได้ ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในการแก้ปัญหาเท่าไหร่นัก
พิเศษ!! สำหรับลูกค้าใหม่ รับโค้ดส่วนลด 50 บาท ที่หน้าร้าน Shopee และ Lazada
ขอแนะนำ! DW Dee-Nize
ผลิตภัณฑ์ปรับสมดุลการนอนหลับที่ไม่ใช่ยานอนหลับ ไม่ติด ไม่ดื้อ ไม่น็อก โดยเป็นสารสกัดจากสมุนไพรกว่า 10 ชนิด
- ช่วยปรับสมดุลสมอง
- กระตุ้นการสร้างเมลาโทนิน
- ส่งเสริมความจำ
- ทำให้หลับสนิท หลับสบาย
- ทำจากธรรมชาติปลอดภัยปราศจากผลข้างเคียง
- และเมื่อร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่จะช่วยให้ตื่นเช้าสดใสไม่งัวเงีย
สารสกัดจากสมุนไพรมากกว่า 10 ชนิด ประกอบด้วย
กลไกการทำงานของ Dee-Nize
พิเศษ!! สำหรับลูกค้าใหม่ รับโค้ดส่วนลด 50 บาท ที่หน้าร้าน Shopee และ Lazada
สนใจสั่งซื้อ DW Dee Nize ได้ที่ หรือโทร 02 114 8484
*พิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ รับโค้ดส่วนลด 20 บาท ฟรีค่าจัดส่งไม่จำกัดจำนวนชิ้น เพียงใส่โค้ด ‘SLEEP’
นอนไม่หลับแบบไหนควรพบแพทย์
นอนไม่หลับ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง หรือนอนไม่หลับติดต่อกันนานเกิน 3 สัปดาห์ และเริ่มมีอาการที่บ่งชี้ว่าได้รับผลกระทบจากปัญหารุนแรง เช่น ส่งผลกับปัญหาทางจิตและอารมณ์ ควรได้รับการตรวจหรือที่เรียกว่า Sleep Test จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องเหมาะสมกับปัญหาที่กำลังเผชิญ
สรุป
สาเหตุของการนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยเช่น สภาพแวดล้อม อาการเจ็บป่วย ปัญหาทางจิตใจ ความเครียด โดยสามารถที่จะรักษาหรือป้องกันโอกาสที่จะเป็นโรคนอนไม่หลับหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนได้ ซึ่งการรักษาการนอนไม่หลับมีอยู่ 2 วิธีหลักๆ คือการใช้ยานอนหลับและการไม่ใช้ยา เช่น การใช้เทคนิค”ออก5″ หรือการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปรับสมดุลการนอนหลับดีๆ อย่าง DW Dee-Nize เพื่อช่วยปรับสมดุลการทำงานของสมองและช่วยให้นอนหลับได้อย่างมีคุณภาพอีกด้วย
-
Dee-Nize ขนาดบรรจุ 10 แคปซูล
350 ฿Original price was: 350 ฿.290 ฿Current price is: 290 ฿. -
ฺBiotine X1 ขนาดบรรจุ 30 แคปซูล เพิ่มผมหนา ลดผมร่วง
690 ฿Original price was: 690 ฿.490 ฿Current price is: 490 ฿. -
ฺBiotine X2 ขนาดบรรจุ 30 แคปซูล เพิ่มผมหนา ลดผมร่วง
690 ฿Original price was: 690 ฿.490 ฿Current price is: 490 ฿. -
Dee-Nize ขนาดบรรจุ 30 แคปซูล
750 ฿Original price was: 750 ฿.590 ฿Current price is: 590 ฿. -
GLUCON สมุนไพรรวม ต้านเบาหวาน ขนาด 60 แคปซูล
820 ฿Original price was: 820 ฿.650 ฿Current price is: 650 ฿. -
Dee-Nize ขนาดบรรจุ 30 แคปซูล + 10 แคปซูล
1,280 ฿Original price was: 1,280 ฿.745 ฿Current price is: 745 ฿. -
ฺBiotine X1 ขนาดบรรจุ 60 แคปซูล เพิ่มผมหนา ลดผมร่วง
1,380 ฿Original price was: 1,380 ฿.890 ฿Current price is: 890 ฿. -
ฺBiotine X2 ขนาดบรรจุ 60 แคปซูล เพิ่มผมหนา ลดผมร่วง
1,380 ฿Original price was: 1,380 ฿.890 ฿Current price is: 890 ฿. -
Dee-Nize ขนาดบรรจุ 60 แคปซูล
1,500 ฿Original price was: 1,500 ฿.1,060 ฿Current price is: 1,060 ฿. -
GLUCON สมุนไพรรวม ต้านเบาหวาน ขนาด 120 แคปซูล
1,640 ฿Original price was: 1,640 ฿.1,220 ฿Current price is: 1,220 ฿. -
ฺBiotine X1 ขนาดบรรจุ 120 แคปซูล เพิ่มผมหนา ลดผมร่วง
2,760 ฿Original price was: 2,760 ฿.1,490 ฿Current price is: 1,490 ฿. -
ฺBiotine X2 ขนาดบรรจุ 120 แคปซูล เพิ่มผมหนา ลดผมร่วง
2,760 ฿Original price was: 2,760 ฿.1,490 ฿Current price is: 1,490 ฿.
รีวิวจากผู้ใช้ Dee-Nize (ดีไนซ์)
พิเศษ!! สำหรับลูกค้าใหม่ รับโค้ดส่วนลด 50 บาท ที่หน้าร้าน Shopee และ Lazada
รีวิวจากผู้ใช้ Dee-Nize (ดีไนซ์)
พิเศษ!! สำหรับลูกค้าใหม่ รับโค้ดส่วนลด 50 บาท ที่หน้าร้าน Shopee และ Lazada
อ่านบทความทั้งหมด
- การันตีคุณภาพ “ดีไนซ์” คว้ารางวัลสำคัญแห่งปี “ผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งปี ประจำปี 2566”เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2566 คุณโอมรัตน์ เพ็ญสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีดับบลิว ฟาร์มา จำกัด (DW Pharma Co., Ltd.) เพื่อรับรางวัลจากความสำเร็จของผลิต…
- โรคเบาหวาน อาการ สาเหตุ และวิธีรักษา รู้ก่อนสายก็สุขภาพดีได้โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของฮอร์โมนที่ชื่อว่า “อินซูลิน (Insulin)” ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้ เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้…
- ส่องเคล็ดลับ แก้นอนไม่หลับ ของสายสุขภาพ ดูแล้วเอาไปใช้ตามได้ทันทีการนอนไม่หลับเกิดได้จากความเครียดเป็นสาเหตุหลัก การมีความเครียดจะทำให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายปรับตัวเตรียมพร้อมสำหรับสถานการ…
- ทางแก้ โรคนอนไม่หลับ ธรรมดา เรื้องรัง ด้วยวิธี ธรรมชาติโรคนอนไม่หลับเป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาใช้เวลาทำให้หลับนานกว่าปกติ โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์สามารถเข้าสู่ภวังค์แห่งการหลับไหลได้ ภายใ…
- นอนไม่หลับ สมองตื่นตัว หยุดคิดไม่ได้ กระสับกระส่าย ตื่นกลางดึกแก้ยังไงนอนไม่หลับเป็นอาการที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยมีผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับมากกว่า 30% ของประชากรทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพทั้งกายและจิตใจของผู้ป่วย โดยมีอาการที่พบไ…
- วิตามินนอนหลับ ไม่อันตราย เทรนด์มาแรงปี 2024จากกรมสุขภาพจิตพบว่า มีเพิ่มขึ้นของอัตราคนไทยที่มีปัญหานอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ตื่นง่าย เพิ่มขึ้นถึงปีละ 25 % โดยเกิดจากปัจจัยหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องโรคระบาด และ…
- โลกยุคใหม่กับ “ปัญหานอนไม่หลับ” ที่ต้องแก้ด้วยวิธียุคใหม่ 2022นอนไม่หลับ ปัญหาโลกแตกของคนยุคใหม่ การนอนสำคัญยังไง? การนอน คือการพักผ่อนที่ดีที่สุด จากความเหนื่อยล้าของร่างกาย และความยุ่งเหยิงในจิตใจ ช่วงเวลาของการหลับใหลจะ…
- หลับไม่ลึก ร่างพัง ปัญหาสุขภาพของคนนอนหลับไม่สนิทภาวะหลับลึก เริ่มหลังจากหลับไปแล้วประมาณ 60-90 นาที เป็นภาวะที่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก จะปรับคลื่นสมองเป็นคลื่นไฟฟ้าสมองความถี่ต่ำในระดับ Slow wave sleep เป็นโ…
- 5 วิธีทำได้ด้วยตัวเอง สำหรับคนอยากเลิกยานอนหลับ อย่างปลอดภัยยานอนหลับถือเป็นยาอันตราย ที่เราไม่สามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยา แต่ต้องถูกสั่งจ่ายโดยแพทย์ในกรณีที่ป่วยเป็นโรคที่ไม่สามารถหลับได้เอง ใครที่ไม่ได้ป่วยแต่หลวมตั…
- 12 วิธี เปลี่ยนกิจวัตร ช่วยนอนหลับง่าย คนนอนไม่หลับต้องอ่าน !เมื่อการใช้ชีวิต รบกวนการนอน คุณคือคนสู้ชีวิต ที่ชีวิตสู้กลับ นอนไม่หลับทำให้เราดูแย่ใช่หรือไม่ คำตอบคือ ใช่วันนี้เราเลยรวม 12 วิธีปรับพฤติกรรม เปลี่ยนกิจวัตรปร…
- รู้ก่อนใช้ เมลาโทนินรักษาโรคนอนไม่หลับ อันตรายหรือไม่?เมลาโทนนิน (Melatonin) คืออะไร เมลาโทนิน (Melatonin) คือ ฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมสมดุลการนอนหลับของมนุษย์ ซึ่งโดยปกติสามารถสร้างขึ้นเองได้โดยธรรมชาติ โดยจะสร้างในช่…
- เผยความลับ! ที่อยู่ในวิตามินช่วยนอนหลับปัญหาของคนนอนไม่หลับ นอนไม่หลับเป็นปัญหากวนใจของใครหลายคน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จากหลายเหตุผลทั้งความเครียด ชีวิตประจำวันที่ต้องเรียนหรือทำงานไม่เป็นเวลา มีปัญหาส…